งานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ECON-TU Symposium ครั้งที่ 42 ภายใต้หัวข้อ “ชีวิตที่เหลื่อมล้ำ : เหลื่อมล้ำตลอดชีวิต”
18 สิงหาคม 2563
อ่าน : 1,670


































































โดยงานวิจัยที่ได้นำเสนอในงานนี้ ประกอบไปด้วยสามส่วนหลัก ส่วนแรก “ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากหลายมุมมองใหม่” เป็นการฉายภาพความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยผ่านการใช้ชุดข้อมูลและเทคนิคการวิเคราะห์ใหม่ อาทิเช่น การนำภาพถ่ายดาวเทียมมาวิเคราะห์ผ่านเทคนิคใหม่ ๆ ของวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) และการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำจากหลายมิติของคุณภาพชีวิตคนไทยแทนการวิเคราะห์ด้านรายได้เพียงอย่างเดียว เช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข สินทรัพย์ทางการเงิน และเทคโนโลยี
ส่วนที่สอง “ความเหลื่อมล้ำจากวัยเรียนสู่วัยทำงาน” เป็นการวิเคราะห์ภาพและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” ทางด้านการศึกษา เพื่อตอบคำถามว่าทำไมความสำเร็จของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาโอกาสการเข้าถึงการศึกษากลับไม่สามารถนำไปสู่การลด “ความเหลื่อมล้ำ” ในด้านคุณภาพการศึกษาได้ และยังอธิบายถึงปัญหาการผลิตแรงงานที่ทักษะไม่ตรงกับงานที่ทำของประเทศไทยว่ามักจะเกิดขึ้นกับคนกลุ่มใด เพราะเหตุใด และส่งผลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างที่แรงงานได้รับหรือไม่
และส่วนสุดท้าย “ความเหลื่อมล้ำเมื่อเจ็บป่วยและชรา” คือความเหลื่อมล้ำในมิติทางด้านสุขภาพ โดยมีการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางด้านสุขภาพครอบคลุมทั้งในระดับปฐมวัย และในระดับผู้สูงอายุ