กสิกรไทย ผนึกกำลัง 25 องค์กร จัดตั้ง “เครือข่ายธุรกิจเพื่อการจัดการสภาพภูมิอากาศประเทศไทย”
04 มิถุนายน 2567
อ่าน : 485
กสิกรไทย ผนึกกำลัง 25 องค์กร จัดตั้ง “เครือข่ายธุรกิจเพื่อการจัดการสภาพภูมิอากาศประเทศไทย”
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในงาน Earth Jump 2024 : The Edge of Action จัดขึ้นโดยธนาคารกสิกรไทย โดยในงานมีการเปิดตัวการจัดตั้ง “เครือข่ายธุรกิจเพื่อการจัดการสภาพภูมิอากาศประเทศไทย” (Thailand Climate Business Network: Thai CBN) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย โดยนางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมกับ 25 องค์กรชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เชื่อมโยงการทำงานของทั้ง 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคการเงินและการธนาคาร องค์กรและธุรกิจต่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1)เพื่อสร้างเครือข่ายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่อุปทาน และผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี แนวทางปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) 2) ส่งเสริมให้เกิดการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีต่างๆ ไปดำเนินการให้เกิดขึ้นจริง และ 3) เพื่อยกระดับศักยภาพของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานให้พร้อมคว้าโอกาสใหม่ของธุรกิจในยุคเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
“เครือข่ายธุรกิจเพื่อการจัดการสภาพภูมิอากาศประเทศไทย” (Thailand Climate Business Network: Thai CBN) ประกอบด้วย 25 องค์กร ได้แก่
ภาครัฐ
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นายธวัชชัย สำราญวานิช รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์
2. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
ดร. สิริพร พิทยโสภณ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ
3. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ดร. ปณิตา ชินวัตร รักษาการผู้อำนวยการ
4. สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายวินิจ ศิลามงคล นายกสภาวิชาชีพบัญชี
5. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ประธานกรรมการ
ภาคเอกชน
1. บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
นายนพเดช กรรณสูตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการลงทุนนวัตกรรม และความยั่งยืน
2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
นางสาวอุทัยวรรณ อนุชิตานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารความเป็นเลิศและการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
นายฉัตรพล ศรีประทุม ผู้อำนวยการโครงการกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และการพัฒนา
4. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5. หอการค้าร่วมต่างประเทศ
นางวีเบ็คก้า ริสซอน ไรเวอร์ก ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย
6. บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด
นายสันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
7. บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
นางสาวสินีนุช โกกนุทาภรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท
8. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ สายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กรและโครงการกลยุทธ์
9. หอการค้าแห่งประเทศไทย
นายยุทธนา เจียมตระการ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน
และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ภาคการศึกษา
1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดี
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.พีระ เจริญพร รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะเศรษฐศาสตร์
ภาคการเงินและการธนาคาร
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
นายเกียรติศักดิ์ พระวร ผู้ช่วยผู้จัดการ
2. ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย
นางสาวนฤมล จิวังกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่
3. ธนาคารกสิกรไทย
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
นายพิพิธ เอนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่
4. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
นายพลากร หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
5. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
นายเชา หว่อง หยวน Chief Sustainability Officer
องค์กรและธุรกิจต่างประเทศ
1. บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC)
นายอัลเลน ฟอร์เลมู Regional Industry Director, FIG, Asia & Pacific
2. ลอมบาร์ด โอเดียร์
นายซาเวียร์ เบียร์คาร์ด Head of Strategic Alliance in Thailand