ปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต
(หลักสูตรภาษาไทย)

ก่อนปี พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นปีที่มีการพิมพ์ตำราทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นเป็น ครั้งแรกในประเทศไทย วิชาเศรษฐศาสตร์ในสมัยนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่าง แพร่หลาย ในหมู่คนธรรมดาทั่วไป ผู้ที่พอจะ เข้าใจ วิชาเศรษฐศาสตร์อย่าง แท้จริงก็มีแต่ผู้หลักผู้ใหญ่ในวงราชการในขณะนั้น ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ มีความคิด ก้าวหน้า เกินกว่า ที่คนธรรมดาจะเข้าใจได้

และเนื่องจาก วิชาเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวพันกับ การเมือง และลัทธิเศรษฐกิจอยู่มาก ดังนั้น ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ จึงไม่ได้รับการ สนับสนุนหรือแม้กระทั่งได้มีการระงับไม่ให้ สนใจอีกด้วย โดยเกรงว่าจะเป็นภัยแก่การปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้นบุคคลที่จัดได้ว่า เป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ท่านแรกของประเทศไทยเห็นจะได้แก่

ท่านพระยาสุริยานุวัตร์ ท่านผู้นี้ ได้เรียบเรียง และพิมพ์ตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของประเทศไทย ชื่อว่า “ ทรัพยาศาสตร์ ” ขึ้นใน พ.ศ.2454 แต่ได้ถูก รัฐบาลในสมัยนั้น ขอร้องไม่ให้นำออกเผยแพร่จน กระทั่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปแล้ว ดร. ทองเปลว ชลภูมิ จึงได้นำหนังสือเล่มนั้น ออกมา พิมพ์ขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “ เศรษฐศาสตร์วิทยาภาคต้น เล่ม 1 ” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งว่าด้วย การสร้างทรัพย์ ภาคสองว่าด้วยการแบ่งปันทรัพย์ ซึ่งศึกษาถึง ค่าเช่า ที่ดิน ค่าแรง กำไร และการร่วมทุน ร่วมแรงร่วมผลประโยชน์ นับได้ว่าหนังสือเล่มนี้ได้เริ่มให้ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ แก่ประชาชนชาวไทย อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก

ต่อมา ในปี พ.ศ.2459 ท่าน น.ม.ส. ( กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ) ได้ตีพิมพ์หนังสือตลาดเงินตรา “ Money Market ” ซึ่ง เป็นเรื่องหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องของวิชาเศรษฐศาสตร์ ท่าน น.ม.ส.ได้พิมพ์ หนังสือเล่มนี้ขึ้นจำนวน 1,000 ฉบับ มีความหนา ทั้งสิ้น 140 หน้าตอนที่ 9 ว่าด้วย “ วิชาจัดเงินตราในกรุงสยาม ” หนังสือเล่มนี้คงจะได้รับความนิยมน้อยไป จึงไม่ได้มีการตีพิมพ์หนังสือ เรื่องอื่น ๆ ของวิชาเศรษฐศาสตร์กันขึ้นอีกจนกระทั่งในปี พ.ศ.2473 โรงเรียนกฎหมาย ซึ่งก่อตั้งโดย กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ.2440 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา และได้เพิ่มเวลาการ ให้ความรู้จาก 2 ปี มาเป็น 3 ปี ได้มีการเสนอให้สอนกฎหมายปกครอง และวิชาทาง เศรษฐศาสตร์ด้วย ข้อเสนอการสอน วิชาเศรษฐศาสตร์ไม่ได้รับการอนุมัติ คงให้สอนแต่วิชา กฎหมายปกครอง

ฉะนั้นในปี พ.ศ. 2474 จึงได้มีการสอน วิชากฎหมายปกครองขึ้นเป็นครั้งแรก โดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้สอน ซึ่งท่านได้นำเอา วิชาเศรษฐศาสตร์มาแทรกสอน ไว้ตอนท้ายของ กฎหมายปกครองด้วยโดยให้ชื่อว่า “ การงานซึ่งฝ่ายปกครองกระทำเพื่อส่ง เสริมฐานะ และความเป็นอยู่ความสุขของราษฎร์ ” ( Service des seins ) ซึ่งท่านได้แยกการงานนี้ ออกเป็น 2 สาย คือ (1) ในทางเศรษฐกิจ ( Economic Politique ) และ ( 2 ) ในทางสมาคมกิจ ( Economic Social )

Name of courses
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Economics Program
Degree
เศรษฐศาสตรบัณฑิต
ศ.บ. (เศรษฐศาสตรบัณฑิต)
Bachelor of Economics (B.Econ.)

LeveL Bachelor Degree 4-year study period