คำอธิบายรายวิชา

รายละเอียดวิชา
ศ.100 การเขียนงานวิชาการสำหรับประเด็นด้านเศรษฐกิจ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : นักศึกษาฐานะชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป
  เรียนรู้และฝึกฝนทักษะพื้นฐานในการเขียนงานวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ การค้นคว้าบทความทางวิชาการ การอ่านและจับใจความ การเขียนบทความ การอ้างอิง และการนำเสนอข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ 
ศ.301 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : -
  วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจไทย การศึกษาจะเน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งบทบาทของรัฐที่มีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมนับตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในปี พ.ศ.2398  
ศ.302 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : -
  วิเคราะห์ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของระบบทุนนิยมโลก  รวมทั้งประเด็นเศรษฐกิจโลกที่มีความสำคัญ โดยอาจเลือกศึกษาในประเด็น ตัวอย่างเช่น กำเนิดของระบบทุนนิยม การปฏิวัติอุตสาหกรรม การล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลกในทศวรรษ 1930 (the Great Depression) การล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบโซเวียต พัฒนาการของเศรษฐกิจจีนและเอเชียตะวันออก วิกฤตการณ์น้ำมัน วิกฤตการณ์การเงินครั้งสำคัญของโลก เป็นต้น  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.401 เศรษฐศาสตร์การเมือง  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214  
  วิเคราะห์พัฒนาการของระบบทุนนิยม ระเบียบวิธี (Methodology) และทฤษฎีของวิชาเศรษฐศาสตร์สำนักต่าง ๆ ตั้งแต่เศรษฐศาสตร์การเมืองยุคคลาสสิก เศรษฐศาสตร์การเมืองของคาร์ล มาร์กซ์ เศรษฐศาสตร์การเมืองยุคหลังมาร์กซ์   
ศ.402 เศรษฐศาสตร์สถาบัน   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  พัฒนาการแนวคิดของเศรษฐศาสตร์สถาบัน วิเคราะห์บทบาทของสถาบันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคม วิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดการเกิดและดับของสถาบัน ต้นทุนทางธุรกรรมของสถาบัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสถาบัน ศึกษาและวิเคราะห์การปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ ปรากฏการณ์ทางการเมือง โครงสร้างตลาดการเมือง และประพฤติกรรมทางการเมือง การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมืองผ่านตลาดการเมือง ตลอดจนการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจผ่านกลไกของอำนาจรัฐ ศึกษาอิทธิพล และผลกระทบของการรวมกลุ่มของกลุ่มผลประโยชน์ และองค์กรต่าง ๆ ในการผลักดันและกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ  
ศ.403 นิติเศรษฐศาสตร์  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214    
  ระบบกฎหมายไทย ความสัมพันธ์ของกฎหมาย เศรษฐกิจ และการเมือง การนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุผลของการมีกฎหมาย เช่น กฎหมายกรรมสิทธิ์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศึกษาการควบคุมกำกับระบบเศรษฐกิจและผลของกฎหมายที่มีต่อพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ 
ศ.404 พัฒนาการแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214 
  พัฒนาการของแนวคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านการศึกษาปรัชญาพื้นฐานและสาระสำคัญของแนวคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สำนักต่าง ๆ รวมถึงบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่มีส่งผลต่อแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย ทั้งนี้การศึกษาอาจมุ่งเน้นไปที่การถกเถียงประเด็นสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ ในเรื่องทฤษฎี ปัญหาสำคัญและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์  
ศ.405 เศรษฐศาสตร์การเมืองแนวใหม่  3 (3-0-6)
  วิขาบังคับก่อน : ศ.311 และ ศ.312
  กระบวนการทางการเมือง (Political Process) ในฐานะที่เป็นที่มาของการผลิต (Formation) และนำนโยบายเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติ โดยใช้เครื่องมือและกรอบการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ประเด็นของการศึกษา ได้แก่ การตัดสินใจทางการเมือง (Political Decision Making) สถาบันทางการเมือง การเลือกตั้ง กฎการลงคะแนนเสียง (Electoral Rules) การเมืองว่าด้วยการกระจายผลประโยชน์ (Redistributive Politics) การเมืองเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Politics) การเมืองเชิงพลวัต (Dynamic Politics) พฤติกรรมและแรงจูงใจของผู้เล่น (Agents) ในตลาดการเมือง (Political Market) อันประกอบด้วย ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Voters) นักการเมือง (Politicians) กลุ่มผลประโยชน์ (Special Interested Groups) เป็นต้น นอกจากนี้การศึกษายังครอบคลุมถึงโครงสร้างเชิงสถาบันที่มีผลต่อนโยบายและตัวแปรทางเศรษฐกิจ     มหภาค ประเด็นการศึกษาที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีความเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับประเด็นในเรื่องการออกแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ทางการเมืองและกลไกแรงจูงใจที่เอื้อให้นโยบายเศรษฐกิจที่ดีถูกผลิต ถูกเลือกและนำไปปฏิบัติ   
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.406 สถานการณ์เศรษฐกิจร่วมสมัย  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้  ศ.211 และ ศ.212
  วิชานี้เป็นการแนะนำนักศึกษาให้รู้จักกับเนื้อหาและวิธีการศึกษาของวิชาเศรษฐศาสตร์ผ่านการสำรวจประเด็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจร่วมสมัย อาทิ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และความเสื่อมถอยในสถานการณ์ทางสิ่งแวดล้อม ความสนใจหลักอีกประการหนึ่งของวิชานี้อยู่ที่วิธีการที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้ในวิเคราะห์และจัดการกับสถานการณ์เหล่านี้  
ศ.409 สัมมนาเศรษฐศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ    3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้วิชาไม่ต่ำกว่าระดับ 400 ของหมวดเศรษฐศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ อย่างน้อย 2 วิชา โดยที่ไม่นับวิชา ศ.400  ศ.404  ศ.406 และ ศ.500
  สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน  
ศ.501 เศรษฐศาสตร์การเมือง : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1               3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.502 เศรษฐศาสตร์การเมือง : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป 
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศ.210 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 3 (3-0-6)
  (เฉพาะนักศึกษานอกคณะเศรษฐศาสตร์เท่านั้น และจะไม่นับหน่วยกิตให้ หากสอบได้ วิชา ศ.211 หรือ ศ.212 หรือ ศ.213 หรือ ศ.214 ก่อนหรือหลัง หรือกำลังศึกษาวิชาเหล่านี้อยู่)
  หลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค ในส่วนของเศรษฐศาสตร์จุลภาค ศึกษาถึงอุปสงค์และอุปทานของสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภค การผลิต และต้นทุน พฤติกรรมของหน่วยผลิต โครงสร้างและพฤติกรรมการแข่งขันของหน่วยผลิตในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ตลาดผูกขาด และตลาดที่ไม่สมบูรณ์  แนวคิดความล้มเหลวของตลาด และบทบาทของภาครัฐในการแทรกแซงตลาด ในส่วนของเศรษฐศาสตร์มหภาค  ศึกษาถึงเป้าหมาย และปัญหาในทางเศรษฐกิจมหภาค ความเข้าใจถึงรายได้ประชาชาติ ระบบการเงินและการธนาคาร นโยบายการเงินและการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการนำดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคไปใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ  ในภาคต่างประเทศศึกษาถึงความสำคัญของการค้าและการเงินระหว่างประเทศ และข้อโต้แย้งระหว่างการค้าเสรี และการปกป้องตลาด
ศ.211 หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : -
  ทฤษฎีและหลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยมูลค่า ราคา และการจัดสรรทรัพยากร ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคและผู้ผลิต โดยเน้นปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้า ศึกษาการกำหนดราคาและประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรในตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดผูกขาด ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดปัจจัยการผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด
ศ.212 หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : -
  ความหมายและวิธีการศึกษาเศรษฐศาสตร์ ดัชนีชี้สภาวะเศรษฐกิจมหภาค เป้าหมายและปัญหาในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค หลักการคำนวณรายได้ประชาชาติ ทฤษฎีการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ทฤษฎีการบริโภคมวลรวม ทฤษฎีการลงทุนมวลรวม ทฤษฎีตัวเร่ง ตลาดการเงิน ทฤษฎีอุปสงค์ของเงิน และอุปทานของเงิน แบบจำลองดุลยภาพร่วมของตลาดผลผลิตและตลาดเงิน (แบบจำลอง IS - LM) นโยบายการเงินและการคลังในการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ดุลการชำระเงิน ตลอดจนการสืบค้นและการจัดการข้อมูลเพื่อการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
ศ.213 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น  3 (3-0-6)
  (สำหรับนักศึกษานอกคณะเศรษฐศาสตร์)
  แนวคิดและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การทำงานของกลไกราคา อุปสงค์และอุปทานของสินค้า ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมการผลิต ต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์รูปแบบต่าง ๆ เปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรการผลิตในตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดอื่น ๆ ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดปัจจัยการผลิต และความล้มเหลวของตลาด
ศ.214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น  3 (3-0-6)
  (สำหรับนักศึกษานอกคณะเศรษฐศาสตร์)
  ความหมายและวิธีการศึกษาเศรษฐศาสตร์ เป้าหมายและปัญหาในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค การคำนวณรายได้ประชาชาติ ทฤษฎีการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ตลาดการเงิน อุปสงค์และอุปทานของเงิน ปัญหาการว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อและเงินฝืด นโยบายการเงินและการคลังในการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ดุลการชำระเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศ และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการนำดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคไปใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ศ.311 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค  4 (4-0-8)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.211 (หรือ ศ.213) และ ค.216 (หรือ ค.211)
  ศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค โดยเน้นทฤษฎีความพอใจเท่ากัน การบริโภคข้ามเวลา การบริโภคกับภายใต้ความเสี่ยง ทฤษฎีการผลิตและต้นทุนการผลิต การอธิบายสาเหตุการเกิดบริษัทโดยใช้ต้นทุนสารสนเทศ การวิเคราะห์ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ได้แก่ ตลาดผูกขาด ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด และตลาดผู้ขายน้อยราย ทฤษฎีเกมเบื้องต้น การตั้งราคาในทางปฏิบัติ การกำหนดราคาในตลาดปัจจัยการผลิตภายใต้โครงสร้างตลาดประเภทต่าง ๆ  ดุลยภาพทั่วไปและเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ ความล้มเหลวของตลาดและการแก้ปัญหา
ศ.312 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค  4 (4-0-8)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ข) ศ.213 และ ศ.214
  แบบจำลองดุลยภาพร่วมในตลาดเงิน ตลาดผลผลิต และตลาดเงินตราต่างประเทศ (แบบจำลอง IS - LM - BP) การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ ตลาดผลผลิตและตลาดแรงงาน แบบจำลองอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวมในระบบเศรษฐกิจแบบปิด และแบบเปิด ภาวะเงินเฟ้อ การว่างงาน และนโยบายรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการอธิบายเศรษฐศาสตร์มหภาคด้วยพื้นฐานเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่น ทฤษฎีวัฎจักรธุรกิจที่แท้จริง ทฤษฎีนิวคลาสสิค และทฤษฎีของนิวเคนส์เซียน ตลอดจนการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคมาวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ศ.411 เศรษฐศาสตร์จุลภาควิเคราะห์  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 และ ศ.320 (หรือ ศ.421)
  ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคโดยใช้คณิตศาสตร์เป็นสื่อในการวิเคราะห์ประเด็นในทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค อาทิ พฤติกรรมผู้บริโภค ความพึงใจที่เปิดเผย (Revealed Preference) การบริโภคข้ามเวลา การบริโภคกับความเสี่ยง ทฤษฎีการผลิตและต้นทุนการผลิต โครงสร้างและพฤติกรรมของตลาดประเภทต่าง ๆ และหัวข้ออื่น ๆ ที่ผู้สอนเห็นสมควร 
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.412 เศรษฐศาสตร์มหภาควิเคราะห์ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.312 และ ศ.320 (หรือ ศ.421)
  ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคโดยใช้คณิตศาสตร์และกรอบวิเคราะห์เชิงพลวัตรเป็นสื่อในการวิเคราะห์ประเด็นในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค อาทิ ดุลยภาพทั่วไปและสวัสดิการสำหรับรูปแบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคสมัยใหม่ การวิเคราะห์ประเด็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว กรอบการวิเคราะห์ปัญหาการเจริญเติบโตและความผันผวนทางเศรษฐกิจในระยะสั้นในทางทฤษฎีและเชิงประจักษ์ บทบาทของภาครัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ แนวคิดสมัยใหม่สำหรับแบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงหัวข้ออื่น ๆ ที่ผู้สอนเห็นสมควร  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.415 ทฤษฎีเกม 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 และ ศ.320 (หรือ ศ.421)
  แนวคิด เครื่องมือ และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมภายใต้สภาวการณ์ที่สารสนเทศสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์  อาทิ เกมกลยุทธ์ ดุลยภาพแบบแนช ดุลยภาพแบบกลยุทธ์ผสม เกมที่มีการต่อขยาย (Extensive game) ดุลยภาพแบบสมบูรณ์ทุกเกมย่อย เกมเบย์ และเกมที่มีการต่อขยายภายใต้สภาวการณ์ที่สารสนเทศไม่สมบูรณ์ และหัวข้ออื่น ๆ ที่ผู้สอนเห็นสมควร  
ศ.416 เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 
  แนวคิดของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมรวมถึงแบบจำลองภายใต้แนวคิดของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม อาทิ การศึกษาเปรียบเทียบกรอบแนวคิดการตัดสินใจของผู้บริโภคภายใต้ภาวะความเสี่ยงระหว่างเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม หลักฐานเชิงประจักษ์ของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม แบบจำลองที่อาศัยปัจจัยเชิงสังคมวิทยาและปัจจัยเชิงจิตวิทยาในการอธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภคและสังคม รวมถึงหัวข้ออื่น ๆ ที่ผู้สอนเห็นสมควร  
ศ.511 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.512 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
หมวดย่อยคณิตเศรษฐศาสตร์
ศ.320 คณิตเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.211, ศ.212 และ ค.216 (หรือ ค.211) หรือ (ข) ศ.213, ศ.214 และ ค.216 (หรือ ค.211) (จะไม่นับหน่วยกิตให้ หากสอบได้วิชา ศ.421 มาก่อนหรือกำลังศึกษาวิชาดังกล่าวอยู่)
  นำแนวคิดและทฤษฎีคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน สมการและเมตริกซ์ การหาค่าอนุพันธ์ประเภทต่าง ๆ ในกรณีที่มีตัวแปรอิสระหนึ่งตัวและหลายตัว การหาผลเลิศ (Optimization) ในกรณีที่ไม่มีข้อจำกัดและมีข้อจำกัด อินทิกรัลเบื้องต้น มาอธิบายแนวความคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันรวม ฟังก์ชันเฉลี่ย และฟังก์ชันส่วนเพิ่มในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ค่าความยืดหยุ่น ดุลยภาพตลาด ผลของการเก็บภาษี และแบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิตเบื้องต้น 
หมวดย่อยคณิตเศรษฐศาสตร์
ศ.421 คณิตเศรษฐศาสตร์ 1  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ค.217 หรือ ค.212 และสอบได้หรือกำลังศึกษาวิชา ศ.311  
  นำแนวความคิดและทฤษฎีคณิตศาสตร์ เรื่องเมตริกซ์ จาโคเบียนดีเทอร์มินันด์  อนุพันธ์ อนุพันธ์ย่อย และการหาผลเลิศ (Optimization) ในกรณีที่ไม่มีข้อจำกัด และมีข้อจำกัดมาอธิบายแนวความคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคในส่วนที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงสถิต เช่น ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ดุลยภาพของหน่วยผลิตในตลาดสินค้าและตลาดปัจจัย ดุลยภาพของรายได้ประชาชาติในตลาดสินค้าและตลาดเงิน การค้าระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ ดุลยภาพเชิงสถิตแบบเปรียบเทียบ แบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิต การหาค่าสูงสุด - ต่ำสุดของโปรแกรมเชิงเส้น รวมทั้ง Duality ของโปรแกรมเชิงเส้น 
หมวดย่อยคณิตเศรษฐศาสตร์
ศ.422 คณิตเศรษฐศาสตร์ 2 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.421 และ สอบได้หรือกำลังศึกษาวิชา ศ.312
  นำเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ในด้านอินทิกรัล แคลคูลัส Differential Equations, Difference Equations , Phase Diagram และการหาผลเลิศเชิงพลวัต (Dynamic Optimization) เช่น ทฤษฎีการควบคุมผลเลิศ (Optimal Control Theory) และ โปรแกรมเชิงพลวัต (Dynamic Programming)  มาใช้อธิบายเศรษฐศาสตร์เชิงพลวัต ทั้งที่เป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคในการหาเส้นทางเดินและเสถียรภาพของตัวแปรต่าง ๆ และศึกษาแบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิตเชิงพลวัต
หมวดย่อยเศรษฐมิติ
ศ.325 เศรษฐมิติเบื้องต้น  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.211(หรือ ศ.213)  ศ.212(หรือ ศ.214)  ค.216(หรือ ค.211) และ ส.216 (หรือ ส.211) (จะไม่นับหน่วยกิตให้ หากสอบได้วิชา ศ.425 มาก่อนหรือกำลังศึกษาวิชาดังกล่าวอยู่)
  วิธีการนำความรู้ทางสถิติและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจโดยสร้างแบบจำลองถดถอยที่มีตัวแปรอิสระตัวเดียวและหลายตัว ตัวแปรอิสระที่มีลักษณะเชิงคุณภาพ ศึกษาปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาในแบบจำลองถดถอยเบื้องต้น ได้แก่ ปัญหาตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์เชิงเส้นซึ่งกันและกัน (Multicollinearity) ปัญหาตัวรบกวนมีความแปรปรวนไม่คงที่ (Heteroskedasticity) ปัญหาตัวรบกวนมีสหสัมพันธ์กัน (Autocorrelation) ปัญหาการระบุแบบจำลองผิดพลาด (Specification Error) ตลอดจนสามารถเลือกแบบจำลองเศรษฐมิติมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางเศรษฐมิติ 
หมวดย่อยเศรษฐมิติ
ศ.425 เศรษฐมิติ 1  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.211(หรือ ศ.213)  ศ.212(หรือ ศ.214)  ค.216(หรือ ค.211) และ ส. 216 (หรือ ส.211)
  วิธีการนำความรู้ทางสถิติและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ การประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Least Squares Method) การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์และความสัมพันธ์ของตัวแปร ศึกษาแบบจำลองถดถอยที่มีตัวแปรอิสระตัวเดียวและหลายตัว ศึกษาการประมาณค่าพารามิเตอร์ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีลักษณะเชิงคุณภาพ (Dummy Variable) ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในแบบจำลองถดถอย ได้แก่ ปัญหาตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์เชิงเส้นซึ่งกันและกัน (Multicollinearity) ปัญหาตัวรบกวนมีความแปรปรวนไม่คงที่ (Heteroskedasticity) ปัญหาตัวรบกวนมีความสัมพันธ์กัน (Autocorrelation) ปัญหาการระบุแบบจำลองผิดพลาด (Specification Error) และปัญหาตัวแปรอิสระมีการกระจายและเป็นตัวแปรสุ่ม (Stochastic Regressor)  ศึกษาวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธี Generalized Least Squares การประมาณค่าพารามิเตอร์ระบบสมการถดถอย (System of Regressions and Seemingly Unrelated Regression: SUR) ศึกษาระบบสมการที่เกี่ยวเนื่องกัน (Simultaneous Equation System) การแก้ปัญหา Endogeneity ด้วยวิธีการประมาณค่าแบบตัวแปรเครื่องมือ (Instrumental Variables) และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์แบบจำลองเศรษฐมิติ 
หมวดย่อยเศรษฐมิติ
ศ.426 เศรษฐมิติ 2      3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.425 
  การประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีการ Maximum Likelihood การประมาณค่าพารามิเตอร์ในแบบจำลองข้อมูลภาคตัดขวางอนุกรมเวลา (Panel Data Models) ศึกษาแบบจำลองที่มีตัวแปรตามแบบจำกัด (Limited Dependent Variable Model) ศึกษาแบบจำลองอนุกรมเวลาเบื้องต้น ได้แก่ แบบจำลองอนุกรมเวลาเชิงเดี่ยว (Univariate Time Series Model) การพยากรณ์ และแบบจำลองสมการถดถอยที่ตัวแปรมีความสัมพันธ์ระยะยาวและการปรับตัวในระยะสั้น
หมวดย่อยเศรษฐมิติ
ศ.521 เศรษฐศาสตร์ปริมาณ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์ปริมาณ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หมวดย่อยเศรษฐมิติ
ศ.522 เศรษฐศาสตร์ปริมาณ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2            3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์ปริมาณ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศ.431 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยตลาดการเงินและสถาบันการเงิน       3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  ตลาดเงินและตลาดทุนในระดับจุลภาค สินทรัพย์ทางการเงิน ความเสี่ยงและการแบกรับความเสี่ยงทางการเงิน ทฤษฎีว่าด้วยดุลยภาพการกำหนดราคาสินทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยและโครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ปัญหาสารสนเทศไม่สมมาตรในตลาดการเงิน ศึกษาสถาบันการเงิน การบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน พฤติกรรมของสถาบันการเงิน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน
ศ.432 ทฤษฎีและนโยบายการเงิน 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.312
  บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ ศึกษานโยบายการเงินในประเด็นเป้าหมาย และเครื่องมือการดำเนินนโยบาย กลไกการส่งผ่านของนโยบายการเงินไปสู่ระบบเศรษฐกิจ บทบาทของนโยบายการเงินที่มีต่อวัฎจักรธุรกิจ กรอบนโยบายการเงิน เช่น เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ บทบาทของธนาคารกลาง ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง และบทบาทของนโยบายการเงินในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
ศ.433 ทฤษฎีการกำหนดราคาสินทรัพย์  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.320 และ ศ.311
  ทฤษฎีการกำหนดราคาสินทรัพย์ โดยอาศัยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ โดยเริ่มจากการศึกษาทฤษฎีการตัดสินใจภายใต้ภาวะความไม่แน่นอนและความเสี่ยง จากนั้นทำการพัฒนาทฤษฎีการกำหนดราคาสินทรัพย์ แบบเวลาไม่ต่อเนื่อง (Discrete time) เช่น แบบจำลอง Capital Asset Pricing Model (CAPM)  แบบจำลอง Arbitrage Pricing Theory (APT) แบบจำลอง Consumption Capital Asset Pricing Model (C-CAPM) เป็นต้น และ ศึกษางานวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับปริศนา (Puzzles) ที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ตัวแบบการกำหนดราคา ตลอดจนศึกษาทฤษฎีสมัยใหม่ที่ถูกพัฒนาต่อยอดเพื่อที่จะแก้ปริศนา (Puzzles) ดังกล่าว 
ศ.434 การเงินเชิงพฤติกรรม 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  แนวคิดของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม รวมถึงแบบจำลองภายใต้แนวคิดของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคการเงิน เช่น ทฤษฎีการคาดหวัง (Prospect Theory) และผลกระทบต่อพฤติกรรมการลงทุน หลักฐานเชิงประจักษ์ในภาคการเงินที่สนับสนุนแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม แบบจำลองที่อาศัยปัจจัยเชิงสังคมวิทยาและปัจจัยเชิงจิตวิทยาในการอธิบายการปรับตัวของระดับผลตอบแทนของตราสารทางการเงิน เป็นต้น รวมถึงหัวข้อ  อื่น ๆ ที่ผู้สอนเห็นสมควร
ศ.435 เศรษฐมิติการเงินเบื้องต้น  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.325 (หรือ ศ.425) และ ศ.431 (หรือ ศ.432)
  ประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติกับข้อมูลอนุกรมเวลาทางการเงินและเศรษฐกิจมหภาค โดยเน้นแบบจำลองสำหรับข้อมูลอนุกรมเวลา เนื้อหาประกอบด้วย คุณลักษณะของข้อมูลทางการเงิน แบบจำลองสำหรับข้อมูลอนุกรมเวลาเชิงเดี่ยว (Univariate Time-Series Model)  แบบจำลองสำหรับข้อมูลอนุกรมเวลาเชิงพหุ (Multivariate Time-Series Model) แบบจำลองสมการถดถอยที่ตัวแปรมีความสัมพันธ์ระยะยาวและการปรับตัวในระยะสั้น และแบบจำลองความผันผวน (Volatility Model) รวมถึงการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ศ.439 สัมมนาเศรษฐศาสตร์การเงิน 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้วิชาไม่ต่ำกว่าระดับ 400 ของหมวดเศรษฐศาสตร์การเงิน อย่างน้อย 2 วิชา 
  สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์การเงิน ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน
ศ.531 เศรษฐศาสตร์การเงิน : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1        3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.532 เศรษฐศาสตร์การเงิน : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2           3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศ.340 เศรษฐศาสตร์สาธารณะเบื้องต้น 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.213 และ ศ.214 หรือ (ค) ศ.211 และ ศ.212 
(จะไม่นับหน่วยกิตให้หากสอบได้วิชาอื่น ๆ ในระดับ 400 ของหมวดนี้มาก่อน หรือกำลังศึกษาวิชาดังกล่าวอยู่)
  หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การคลังสาธารณะ หลักทฤษฏีภาคสาธารณะ เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และบทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคสาธารณะ  สถาบันต่าง ๆ ทางการคลัง และภาคเอกชน นำเสนอข้อมูลและการศึกษาเชิงประจักษ์ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในทางปฏิบัติ
ศ.441 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการใช้จ่ายภาครัฐ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.212 (หรือ ศ.214) และ ศ.311 
  วิเคราะห์การจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจโดยภาครัฐ (รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น) เสนอให้เห็นถึงขนาดของรัฐบาลและงบประมาณ การจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ และการกำกับดูแลสภาวะตลาดล้มเหลว บทบาทรัฐบาลในกระบวนการงบประมาณ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพการเติบโตในระบบเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ ศึกษาถึงการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทางด้านรายจ่าย การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์การคลังในการวิเคราะห์ประเด็นร่วมสมัย เช่น สวัสดิการสังคม การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ การเงินในระบบสาธารณสุขและการศึกษา เป็นต้น
ศ.442 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยรายรับภาครัฐ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.212 (หรือ ศ.214) และ ศ.311 
  วิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบของรายรับรัฐบาล (รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น) ทฤษฎีภาษีอากร  หลักการจัดเก็บภาษี ภาระภาษี  การผลักภาระภาษี  ภาษีกับประสิทธิภาพ  ภาษีกับความเป็นธรรม  ผลกระทบของภาษีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม และต่อการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของปัจเจกบุคคล เช่น การทำงาน การพักผ่อน การออม การบริโภค การลงทุน การหลีกเลี่ยงภาษี และการหลบหนีภาษี รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการก่อหนี้สาธารณะ ศึกษาถึงการกระจายอำนาจการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทางด้านรายรับ การให้เงินอุดหนุน และหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์การคลังในการวิเคราะห์ประเด็นร่วมสมัย เช่น สวัสดิการสังคม การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ การเงินในระบบสาธารณสุขและการศึกษา  การเมืองและเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการปฏิรูปภาษี เป็นต้น
ศ.443 เศรษฐศาสตร์ทางเลือกสาธารณะ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.212 (หรือ ศ.214) และ ศ.311
  หลักการพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ทางเลือกสาธารณะ หรือที่รู้จักกันในนามของ “การเมืองภายใต้วิถีมนุษย์ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ” การวิเคราะห์ว่าปัจเจกชนและหน่วยธุรกิจมีพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรในภาคสาธารณะ ซึ่งใช้ข้อสมมติหลักที่สำคัญคือ “มนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ” เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ในตลาด หัวข้อที่จะศึกษาประกอบด้วย ระบบการลงคะแนนเสียงและแรงจูงใจทางสถาบัน ความขัดแย้งของการลงคะแนนเสียง ระบบราชการ การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ ฯลฯ รวมทั้งการนำกรณีศึกษาทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศมาสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดของการแทรกแซงโดยรัฐบาล และผลกระทบที่อาจเกิดจาก “ความล้มเหลวของรัฐบาล”
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.444 เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและนโยบายสาธารณะ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ศ.311
  วิเคราะห์สวัสดิการสังคมในรูปของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของปัจเจกที่เกิดขึ้นในสังคมภายใต้กรอบทฤษฏีต่าง ๆ  โดยหลัก เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะความพึงปรารถนา (Desirability) ของผลลัพธ์ทางสังคมอันเป็นผลจากนโยบายภาครัฐ ศึกษาแนวคิด “เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น” (Normative Economics) หรือเศรษฐศาสตร์นโยบาย ในประสิทธิภาพพาเรโต (Pareto Efficiency) รวมทั้งแนวคิด “เศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริง” (Positive Economics) ในดุลภาพบางส่วน (Partial Equilibrium) และดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium) เพื่อวิเคราะห์ความอยู่ดีมีสุขจากการจัดสรรปัจจัยการผลิตเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความมีประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจ  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.445 การคลังท้องถิ่น 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 
  ระบบการคลังของรัฐบาลท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government) โดยศึกษาความสำคัญด้านการคลังสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงโครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันระหว่างรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการแบ่งหน้าที่การให้บริการสาธารณะ (Expenditure Assignment) ในพื้นที่ท้องถิ่นที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หลักเกณฑ์การกำหนดของรายรับท้องถิ่น (Revenue Assignment) ทั้งที่เป็นรายได้จากภาษีจัดเก็บเอง หรือที่รัฐบาลกลางจัดสรรให้ ที่สอดคล้องกับภารกิจหน้าที่มอบหมายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งความสัมพันธ์ทางการคลังระหว่างระดับชั้นการบริหาร (Intergovernmental Finance) ที่นำไปสู่กระบวนการปฏิรูปการกระจายอำนาจการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  วิชานี้เน้นการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก แต่ยังคงให้ความสำคัญกับมุมมองด้านรัฐศาสตร์ และปัจจัยเชิงสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปสู่การออกแบบนโยบายและการปฏิบัติการกระจายอำนาจการคลังที่ดี
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.446 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยคอร์รัปชัน 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  คอร์รัปชันผ่านกรอบการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ทั้งในด้านทฤษฎีและวิธีการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical Methodology) ในประเด็นเรื่องนิยาม ความหมาย สาเหตุของการเกิด และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาคและต่อสวัสดิการของสังคม นอกจากนี้ยังศึกษาถึงนโยบายสาธารณะและมาตรการของภาครัฐในการจัดการกับคอร์รัปชันและบทบาทของภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน กรณีศึกษาของนานาประเทศในการจัดการกับคอร์รัปชัน
ศ.449 สัมมนาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ 3 (3-0-6)
  วิชาวิชาบังคับก่อน : สอบได้วิชา ศ.441 และ ศ.442
  สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์สาธารณะ ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน
ศ.541 เศรษฐศาสตร์สาธารณะ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณะ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.542 เศรษฐศาสตร์สาธารณะ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณะ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศ.351 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการเจรจาทางการค้า 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214 Prerequisites : a) EC210 or b) EC211 and EC212 or c) EC213 and EC214
  การกำกับดูแลการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Regulations) ตามความตกลงระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคี ประเภทและผลกระทบของการรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจ บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การการค้าโลก ข้อพิพาทระหว่างรัฐทางการค้าและการลงทุน การเจรจาทางการค้าที่สำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนา 
ศ.451 ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ ผลกระทบจากการค้าระหว่างประเทศ เช่น การผลิต ราคาสินค้า การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ และผลตอบแทนปัจจัยการผลิต รวมทั้งการวิเคราะห์ผลของนโยบายและมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และการลงทุนระหว่างประเทศ
ศ.452 เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.312
  ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ กลไกการปรับตัวของดุลการชำระเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ระบบอัตราแลกเปลี่ยน วิวัฒนาการของระบบการเงินระหว่างประเทศ  ปัญหาการเงินระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศไทย รวมถึงปัญหาวิกฤติการเงินระหว่างประเทศของไทยและโลก
ศ.459 สัมมนาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ 3 (3-0-6)
  วิชาวิชาบังคับก่อน : สอบได้วิชา ศ.451 และ ศ.452
  สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน
ศ.551 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.552 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศ.360 เศรษฐกิจประเทศไทยเบื้องต้น 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.213 และ ศ.214 (สำหรับนักศึกษานอกคณะเศรษฐศาสตร์) 
  ลักษณะโครงสร้างและพัฒนาการเศรษฐกิจของสังคมไทย การพัฒนาภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ความยากจน การกระจายรายได้ และนโยบายในการแก้ปัญหา 
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.361 เศรษฐกิจประเทศในกลุ่ม กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214
  แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) วิวัฒนาการของโครงสร้างเศรษฐกิจ บทบาทของสถาบันรัฐและเอกชน ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น ตลอดจนความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจในประเทศดังกล่าวกับเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก
ศ.362 ประเด็นร่วมสมัยในกลุ่มประเทศอาเซียน 6 หน่วยกิต
  วิชาบังคับก่อน : (ก) นักศึกษาเศรษฐศาสตร์ฐานะชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป และ สอบผ่านวิชาต่าง ๆ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต หรือ (ข) ผู้สอนอนุมัติ
  ประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ประเด็นทางด้านสังคมและวัฒนธรรม การเมือง ธุรกิจ การค้าและการลงทุน การพัฒนาเศรษฐกิจ การเงินในภูมิภาค รวมไปถึงบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในภูมิภาค  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจประเทศไทย การเรียนการสอนมีลักษณะ Active Learning และ Problem Based Learning  เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริงจากภายนอก  การอภิปราย  และเยี่ยมชมดูงานสถานที่ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ  (Field Trips)  โดยอาจเลือกประเทศที่ทำการศึกษาเป็นการเฉพาะ   ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป
ศ.363 เศรษฐกิจประเทศในกลุ่มประเทศต่าง ๆ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214
  แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ โดยอาจศึกษากลุ่มประเทศในเอเชียอื่น ๆ กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป หรือกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป ศึกษาวิวัฒนาการของโครงสร้างเศรษฐกิจ บทบาทของสถาบันรัฐและเอกชน ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น ตลอดจนความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจในประเทศดังกล่าวกับเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก
ศ.364 บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214
  วิวัฒนาการของบทบาทชายหญิงในระบบเศรษฐกิจ ทฤษฎีการตัดสินใจอยู่ร่วมกันเป็นครัวเรือน การจัดสรรเวลาของหญิงและชายระหว่างงานในครัวเรือนและตลาดแรงงาน ปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานที่มีอิทธิพลกำหนดความแตกต่างระหว่างหญิงชายในอาชีพ และรายได้  หรือการสลับบทบาทหญิงชายในอาชีพต่าง ๆ บทบาทของหญิงในสังคมเศรษฐกิจ และการเมือง นโยบายของรัฐหรือสวัสดิการที่มีผลต่อหญิงชายแตกต่างกัน หญิงชายในสังคมผู้สูงอายุ (Aging Economy) วิกฤตเศรษฐกิจกับการจัดการในครัวเรือนและผลต่อตลาดแรงงานหญิงชาย บทบาทของกลุ่ม LGBT ในระบบเศรษฐกิจ ประเด็นความเท่าเทียมกันในบริบทของสากล และประเด็นน่าสนใจอื่น ๆ
ศ.365 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาท้องถิ่น 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ. 214
  พลวัตการพัฒนาท้องถิ่นทั้งในชนบทและเขตเมือง ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและความร่วมมือของชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิต ฐานทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยเชิงชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่กำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นทั้งในและนอกภาคการเกษตรในแต่ละพื้นที่ การตอบสนองและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อนโยบายการพัฒนา บทบาทของกลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชนในการพัฒนาท้องถิ่น การวิเคราะห์ศักยภาพและข้อจำกัดของชุมชนท้องถิ่นในการร่วมมือเพื่อจัดการทรัพยากรและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืนกับการพัฒนาท้องถิ่น และแนวคิดการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับท้องถิ่น
ศ.366 ท้องถิ่นศึกษาและการพัฒนา 6 หน่วยกิต
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.365 หรือผู้สอนอนุมัติ
(ภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างน้อย 270 ชม. ตลอดการศึกษาภาคฤดูร้อน)
  ลงพื้นที่ศึกษาสภาพและประเด็นการพัฒนาที่สำคัญในพื้นที่ที่กำหนดให้ วิเคราะห์ทำความเข้าใจถึงปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ ฐานทรัพยากร และบทบาทของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาในพื้นที่นั้น โดยเป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติในพื้นที่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้สอน
หมายเหตุ : การวัดผลสำหรับวิชานี้แบ่งออกเป็นสองระดับ ระดับใช้ได้ (S) และ ระดับใช้ไม่ได้ (U) 
ศ.460 เศรษฐกิจประเทศไทย  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 และ ศ.312 
  โครงสร้างระบบเศรษฐกิจไทย และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างดังกล่าว รวมถึงผลงานของระบบเศรษฐกิจไทย (Economic Performance) ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาความยากจน การกระจายรายได้ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย การดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง การดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเศรษฐกิจรายสาขา เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลก รวมทั้งความสัมพันธ์กับองค์กรโลกบาล  เช่น  ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และองค์การการค้าโลก
ศ.461 เศรษฐศาสตร์จุลภาคว่าด้วยการพัฒนา 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311    
  แนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แนวคิดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การวัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ แนวคิดทฤษฎีความยุติธรรม (Theories of Justice) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ทฤษฎีและพฤติกรรมการตัดสินใจของครัวเรือน ความไม่สมบูรณ์ของตลาดต่าง ๆ ในประเทศกำลังพัฒนา และนโยบายสาธารณะในประเด็นต่าง ๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ ประชากร การจัดสรรแรงงานในครัวเรือนในภาคการผลิตต่าง ๆ ภาคทางการและภาคนอกทางการ รวมถึงการย้ายถิ่น บทบาทการเป็นผู้ประกอบการของครัวเรือน เครื่องมือจัดการความเสี่ยงของครัวเรือน การเงินครัวเรือน ตลาดการเงินฐานราก นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดความยากจน เป็นต้น
ศ.462 เศรษฐศาสตร์มหภาคว่าด้วยการพัฒนา 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.312
  ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ในวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจมหภาคของประเทศกำลังพัฒนา อันประกอบด้วย ทฤษฎีและแนวคิดที่ใช้อธิบายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับระดับความยากจน และการกระจายรายได้ นโยบายการพัฒนาในอดีต  ตลอดจนวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในระยะสั้น เช่น นโยบายรักษาเสถียรภาพ (Stabilization Policies) นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน การจัดการอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เช่น การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การไหลเวียนของเงินทุน วิกฤตการเงิน สวัสดิการสังคม และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ
ศ.463 โลกาภิวัตน์ และการพัฒนาระหว่างประเทศ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ข) ศ.213 และ ศ.214
  แนวคิดและพัฒนาการของโลกาภิวัตน์ในบริบทตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเกิดขึ้นของระเบียบโลกใหม่ทางเศรษฐกิจ (New International Economic Order) องค์กรโลกบาล บรรษัทข้ามชาติ และกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการพึ่งพา และสำรวจข้อถกเถียงว่าด้วยผลประโยชน์และผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น ประเด็นข้ามพรมแดนร่วมสมัยด้านการพัฒนา บทบาทขององค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนา เช่น สหประชาชาติ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และองค์การพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ ในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศกลุ่มโลกเหนือและโลกใต้ และภายในกลุ่มโลกใต้ด้วยกัน ผ่านความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance) สินเชื่อเพื่อการพัฒนา หรือโครงการพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งวิเคราะห์รูปแบบและปัจจัยแห่งความสำเร็จและล้มเหลวของโครงการพัฒนาระหว่างประเทศที่ผ่านมา และเทคนิคเบื้องต้นในการประเมินผลกระทบหรือผลลัพธ์ของโครงการพัฒนา
ศ.464 เศรษฐศาสตร์เมืองและภูมิภาค 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 และ ศ.212 (หรือ ศ.214) และ ศ.325 (หรือ ศ.425)
  ประเด็นต่าง ๆ ที่ สำคัญในด้านเศรษฐศาสตร์เมือง และ/หรือ เศรษฐศาสตร์ภูมิภาค เฉพาะตามผู้สอนกำหนดในแต่ละภาคการศึกษา เช่น การเติบโตของเมือง (Urbanization) ตลาดที่ดินและที่อยู่อาศัย สินค้าและบริการสาธารณะต่าง ๆ ในเมือง นโยบายการพัฒนาเมืองที่เหมาะสมยั่งยืนและเอื้อกับประชากรทุกกลุ่ม (Sustainable and Inclusive Cities) ทฤษฎีด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจใหม่ (New Economic Geography) แบบจำลองว่าด้วยที่ตั้งและคลัสเตอร์  การเจริญเติบโตและความเหลื่อมล้ำของภูมิภาค การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) เบื้องต้น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เบื้องต้น เขตเศรษฐกิจพิเศษ ประเด็นร่วมสมัยทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองและภูมิภาค เป็นต้น
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.465 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.212 (หรือ EC214)  และ ศ.311
  พัฒนาการของแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้บริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในระดับต่าง ๆ  วิกฤตการณ์ด้านความยั่งยืนที่ประเทศไทยและโลกกำลังเผชิญ นิยามและแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและข้อวิพากษ์ร่วมสมัย แนวคิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและข้อวิพากษ์ เช่น แนวคิด ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) แนวคิดเรื่องการเจริญเติบโตสีเขียว (Green Growth) เป็นต้น ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น ผลกระทบภายนอก (Externalities) สินค้าสาธารณะ (Public Goods) และทรัพยากรร่วม (Common-pool resources)  เศรษฐศาสตร์เชิงนิเวศ (Ecological Economics) นโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นโยบายและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลก เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เป็นต้น ความท้าทายและอุปสรรคในการไปถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน
ศ.466 เศรษฐศาสตร์การเมืองแห่งการพัฒนา  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.211 และ ศ.212  หรือ  (ข) ศ.213 และ ศ.214
  เน้นการศึกษาการเมืองของการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปริมณฑลการเมืองและการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจัยทางการเมืองที่กำหนดเส้นทางการพัฒนา อันได้แก่ รัฐและลักษณะของรัฐ ระบอบการเมืองและการพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบัน การเปลี่ยนแปลงทางสถาบัน และความยืนยาวของสถาบัน บทบาทและความล้มเหลวของรัฐ ตลาด และประชาสังคมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล (Good Governance) คอร์รัปชั่น (Corruption) การเมืองของการปฏิรูป ภูมิศาสตร์และการขูดรีดทรัพยากร ประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น การเมืองของนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม ประชาธิปไตยกับความเหลื่อมล้ำและความยากจน เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศกับการพัฒนา เป็นต้น
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.467 การประเมินโครงการและการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.212 (หรือ EC214)  และ ศ.311 และสอบได้วิชาในระดับ 400 ในหมวด  3 ถึง  9  อย่างน้อย 1 วิชา
  หลักการเศรษฐศาสตร์สวัสดิการที่เป็นพื้นฐานของการประเมินโครงการทางเศรษฐศาสตร์  ศึกษาวิธีการประเมินโครงการในเชิงเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost Benefit Analysis) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของต้นทุน (Cost Effectiveness Analysis) การวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์ (Multi-criteria Analysis)  รวมถึงเกณฑ์ในการประเมินโครงการ เช่น ผลประโยชน์สุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV)  อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) เป็นต้น  โดยเน้นเทคนิคเชิงปริมาณในการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่น market-based techniques, hedonic pricing method, travel cost method, contingent valuation method, choice modeling, benefit transfer และ value of statistical life เป็นต้น
ศ.468 บูรณาการเศรษฐศาสตร์สาธารณะ การพัฒนา และการเมือง  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ศ.311 และเรียนวิชาไม่ต่ำกว่าระดับ 400 ของหมวด 0 หรือ 4 หรือ 6 มาแล้วอย่างน้อย 2 วิชา
  แนวคิดและทฤษฎีจากเศรษฐศาสตร์สาธารณะ เศรษฐศาสตร์สถาบัน เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และเศรษฐศาสตร์การเมือง อย่างบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงและประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของวิชาในกลุ่มนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมเศรษฐกิจไทยหรือสังคมเศรษฐกิจโลกได้ โดยเน้นการศึกษาผ่านกรณีศึกษาหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อเน้นความเข้าใจถึงสาเหตุ สภาพปัญหา และผลกระทบของปัญหาที่หยิบยกมาศึกษา โดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์รวมทั้งทฤษฏีด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นเครื่องมือในการอธิบายและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา  สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์บทบาทของตลาด รัฐ และชุมชน ในการแก้ไขปัญหา โดยคำนึงถึงปัจจัยเชิงสถาบันประกอบการวิเคราะห์ทั้งในเรื่องโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งเข้าใจถึงบทบาทของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
ศ.469 สัมมนาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้วิชาไม่ต่ำกว่าระดับ 400 ของหมวดเศรษฐศาสตร์การพัฒนา อย่างน้อย 2 วิชา โดยที่ไม่นับวิชา ศ.460 และ ศ.468
  สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน 
ศ.561 เศรษฐศาสตร์การพัฒนา : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.562 เศรษฐศาสตร์การพัฒนา : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์
ศ.470 สัมมนาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้วิชาไม่ต่ำกว่าระดับ 400 ของหมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ อย่างน้อย 2 วิชา        
  สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์
ศ.471 เศรษฐศาสตร์แรงงาน 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311         
  ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานแรงงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การกำหนดค่าจ้างโดยวิธีต่าง ๆ การวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพแรงงานโดยการศึกษาและการฝึกอบรมแรงงานโดยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์ การเคลื่อนย้ายแรงงาน โครงสร้างค่าจ้าง ความแตกต่างของค่าจ้างในตลาดแรงงาน การแสวงหางาน การว่างงาน บทบาทของสหภาพแรงงาน บทบาทของรัฐในตลาดแรงงาน การคุ้มครองทางสังคม และผลของการเลือกปฏิบัติต่อค่าจ้างและการจ้างงาน
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์
ศ.472 เศรษฐศาสตร์ประชากรและครอบครัว 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 หรือ ศ.312
  กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางขนาดและโครงสร้างของประชากรและครอบครัว ที่ผ่านภาวะเจริญพันธุ์ การตายและการย้ายถิ่น และปัจจัยที่ทำให้กระบวนการเหล่านี้เปลี่ยนแปลง ตลอดจนศึกษาผลกระทบของตัวแปรทางประชากรและครอบครัวต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค รวมทั้งศึกษาเศรษฐศาสตร์การแต่งงานและเศรษฐศาสตร์ครอบครัว
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์
ศ.473 เศรษฐศาสตร์การศึกษา 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 
  หลักการการลงทุนในการศึกษา การวัดผลตอบแทนต่อการศึกษา ศึกษาทฤษฎีทุนมนุษย์และทฤษฎีทางเลือกในการอธิบายการลงทุนในการศึกษา สมมุติฐาน ศึกษาหลักการการลงทุนในการฝึกอบรมระหว่างการทำงาน  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการศึกษาที่มีต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ค่าจ้างในช่วงตลอดเวลาทำงาน การเติบโตของค่าจ้าง  การเปลี่ยนงาน และการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโดยรวม  ประเมินประสิทธิภาพและความเสมอภาคของการจัดสรรงบประมาณของภาครัฐในระบบการศึกษา
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์
ศ.474 เศรษฐศาสตร์สุขภาพ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 หรือ ศ.312
  แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ด้านสุขภาพและบริการสุขภาพ อุปสงค์และอุปทานต่อบริการสุขภาพ ความล้มเหลวของตลาดบริการสุขภาพและการแทรกแซงของรัฐ การประกันสุขภาพ การคลังสาธารณสุข ปัจจัยการผลิตบริการสุขภาพ  ประสิทธิภาพและความเสมอภาคในระบบบริการสุขภาพ การประเมินโครงการสุขภาพ ปัญหาความไร้สมมาตรของสารสนเทศในการประกันสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพระดับมหภาค และการปฏิรูประบบบริการสุขภาพทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์
ศ.571 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์
ศ.572 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศ.375 เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.210 หรือ ศ.211 หรือ ศ.213 (จะไม่นับหน่วยกิตให้ หากสอบได้วิชาไม่ต่ำกว่าระดับ 400 ของหมวดย่อยนี้มาก่อน หรือกำลังศึกษาวิชาดังกล่าวอยู่)
  ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อม ศึกษาแนวคิดเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ในการจัดการปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ศึกษาบทบาทของชุมชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ในการควบคุมและแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และ ระดับโลก  ศึกษาแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเบื้องต้น  แนวคิดความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม  และ แนวคิดเบื้องต้นด้านการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศ.376 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.210 หรือ ศ.211 หรือ ศ.213
  ความรู้เบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับแนวทางการรักษาเสถียรภาพภูมิอากาศ  แนวคิดความล้มเหลวของตลาดและมาตรการเศรษฐศาสตร์เพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกและการพัฒนาเทคโนโลยี  ผลกระทบของการใช้มาตรการดังกล่าวต่อเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ  เศรษฐศาสตร์ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  เวทีการเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศ.475 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  ทฤษฎีและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ แนวคิดเรื่องความหายากและค่าเช่าทางเศรษฐกิจของทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรระหว่างผู้ใช้ในปัจจุบันและการจัดสรรข้ามเวลา ความล้มเหลวของตลาดเนื่องจากความบกพร่องของระบบกรรมสิทธิ์ ศึกษานโยบายและมาตรการการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติของรัฐและผลกระทบ
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศ.476 เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ศึกษาแนวคิดประสิทธิภาพการผลิตและการบริโภค  แนวคิดความล้มเหลวของตลาด  แนวคิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม  ศึกษาการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม  การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการด้านการพัฒนา ศึกษาหลักการความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม  และศึกษาความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ประเด็นด้านการค้าการลงทุน
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศ.477 เศรษฐศาสตร์พลังงาน  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิต การแปรรูป การขนส่ง และความต้องการใช้พลังงาน  ศึกษาการใช้ทดแทนกันระหว่างพลังงานชนิดต่าง ๆ  ความสำคัญของพลังงานที่มีต่อเศรษฐกิจและผลกระทบของพลังงานที่มีสิ่งแวดล้อม  ศึกษาโครงสร้างตลาดของพลังงานและปัญหาราคาน้ำมันโลกและกลุ่มประเทศโอเปค (OPEC)  ศึกษานโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการจัดหา การผลิต และการใช้พลังงาน  โดยครอบคลุมนโยบายการกำกับดูแลราคา การผลิต การจัดหา การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน  รวมทั้งความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน  โดยการศึกษาในแต่ละหัวข้อจะนำเอากรณีของประเทศไทยมาประกอบการอธิบายเพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจสถานะและปัญหาพลังงานของไทย
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม      
ศ.479 สัมมนาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  3 (3-0-6)      
  วิชาวิชาบังคับก่อน : สอบได้วิชาไม่ต่ำกว่าระดับ 400 ของหมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 2 วิชา      
  สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน      
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศ.573 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศ.574 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศ.380 เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมเบื้องต้น 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.210 หรือ ศ.211 หรือ ศ.213  (จะไม่นับหน่วยกิตให้ หากสอบได้วิชาอื่น ๆ ในระดับ 400 ของหมวดนี้มาก่อน หรือกำลังศึกษาวิชาดังกล่าวอยู่)
  ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในระบบเศรษฐกิจ  ความสัมพันธ์ระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศึกษาโครงสร้างตลาด พฤติกรรม และการแข่งขันของอุตสาหกรรม ผลกระทบของนโยบายรัฐบาลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้ง บทบาทของรัฐในการส่งเสริมการแข่งขันและการกำกับดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.381 เศรษฐศาสตร์การขนส่ง  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.210 หรือ ศ.211 หรือ ศ.213
  บทบาทของการขนส่งในระบบเศรษฐกิจภายในและระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งต่อการเลือกที่ตั้งของหน่วยผลิตและธุรกิจการค้า หลักเกณฑ์และเหตุผลการตั้งอัตราค่าขนส่งในเชิงเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนเอกชนและต้นทุนสังคมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง ความสัมพันธ์ของการขนส่งในเมืองกับการขยายตัวของเมือง ปัญหาและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนด้านการขนส่งในเขตเมือง 
ศ.382 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยภาคบริการ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214
  โครงสร้างและองค์ประกอบของภาคบริการในระบบเศรษฐกิจ ความสำคัญของภาคบริการ และการประยุกต์ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และการจัดการในภาคบริการที่สำคัญ เช่น กิจการโทรคมนาคมและการสื่อสารมวลชน การท่องเที่ยว การขนส่ง การบริการทางการแพทย์ การค้าส่งค้าปลีก กรณีศึกษาที่สำคัญในภาคบริการ รวมทั้งการพัฒนาประเทศแบบองค์รวมที่อาจเกิดจากภาคบริการ
ศ.383 เศรษฐศาสตร์เชิงวัฒนธรรม  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.210 หรือ (ข) ศ.211 และ ศ.212 หรือ (ค) ศ.213 และ ศ.214
  มุมมองทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยงานศิลปะ มรดกทางวัฒนธรรม ผู้สร้างสรรค์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์  การประเมินคุณค่างานศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมทางด้านเศรษฐศาสตร์  การพัฒนาเศรษฐกิจจากงานศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรม  ปัญหาการบริหารจัดการงานศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรม  มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมงานศิลปะ มรดกทางวัฒนธรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ศ.481 เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 
  โครงสร้าง พฤติกรรมธุรกิจ และผลการดำเนินงานของตลาด พฤติกรรมของหน่วยธุรกิจภายใต้การแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างตลาดในรูปแบบต่าง ๆ กับการดำเนินธุรกิจ และการจัดสรรทรัพยากร วิเคราะห์พฤติกรรมของหน่วยธุรกิจในเชิงกลยุทธ์ โดยใช้แนวคิดทฤษฏีราคาและทฤษฏีเกม เช่น การกำหนดราคา การวิจัยและพัฒนา การโฆษณา และการกำหนดกลยุทธการแข่งขันภายใต้การได้รับข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ 
ศ.482 การพัฒนาอุตสาหกรรม : บทบาทของภาครัฐและเอกชน   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.312
  ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมในระบบเศรษฐกิจไทย วิวัฒนาการของนโยบายอุตสาหกรรมในประเทศไทย  บทบาทของรัฐบาลและภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม และในการพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เช่น เศรษฐกิจฐานความรู้ เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจบริการ เป็นต้น
ศ.483 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการกำกับดูแลและการแข่งขันทางการค้า 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  ทฤษฎีที่อธิบายถึงความสำคัญและสาเหตุที่ต้องมีการกำกับดูแลและการแข่งขันทางการค้า ศึกษาเครื่องมือ วิธีการ และผลของการกำกับดูแลและการแข่งขันทางการค้า ศึกษาการกำกับดูแลและการแข่งขันทางการค้าเชิงสถาบัน พร้อมทั้งศึกษาตัวอย่างการปฏิรูปกิจการทางเศรษฐกิจ การกำกับดูแล และการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
ศ.484 เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมเชิงประจักษ์ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : (ก) ศ.311 และ ศ.325 (หรือ ศ.425) หรือ (ข) ได้รับการอนุมัติจากผู้สอน
  วิธีการเชิงประจักษ์ในเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม และการประยุกต์ใช้เศรษฐมิติในการวิเคราะห์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เช่น การประมาณค่าเส้นอุปสงค์และฟังก์ชันการผลิต การวัดอำนาจในตลาด การวิเคราะห์พฤติกรรมของหน่วยธุรกิจในเชิงกลยุทธ์ การแข่งขันแนวดิ่งและแนวราบ การตัดสินใจเข้าตลาดของบริษัท สัญญาและการเรียนรู้ และการวัดผลการดำเนินงานของหน่วยผลิต โดยอาศัยตัววัดค่าประสิทธิภาพและผลิตภาพ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.485 เศรษฐศาสตร์นวัตกรรม      3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311
  นวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งองค์กรอุตสาหกรรมและประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมจากหน่วยผลิตที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ประเด็นศึกษาครอบคลุมถึง บริบทของเศรษฐศาสตร์นวัตกรรมทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสมัยใหม่ ตัวอย่างนวัตกรรมจากอุตสาหกรรมการเกษตร พลังงาน ยา ซอฟต์แวร์และอิเล็กทรอนิกส์; นวัตกรรมและโครงสร้างตลาด; ประเด็นทางกฎหมายและเศรษฐกิจของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ค่าสิทธิบัตร (Paten value) และผลตอบแทนจากการลงทุนวิจัยและพัฒนา (Return to R&D) ประเด็นปัญหาทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลกระทบภายนอกอันเนื่องจากเครือข่าย (Network Externalities) ทั้งทางตรงและทางอ้อมและโลกาภิวัตน์ คุณูประการของนวัตกรรมและการแพร่กระจาย (Diffusion) ไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ บทบาทของภาครัฐและเอกชน นโยบายสาธารณะและโครงสร้างแรงจูงใจในการวิจัยและนวัตกรรม วิธีการวิเคราะห์จะใช้ทั้งในเชิงทฤษฎี เชิงประจักษ์ เศรษฐมิติ และกรณีศึกษา
ศ.486 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 และ ศ.312 และ ศ.325 (หรือ ศ.425)
  ทฤษฎีและเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาธุรกิจ อันได้แก่ การประยุกต์แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การวางกลยุทธ์ และการตัดสินใจทางธุรกิจ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.489 สัมมนาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้วิชาไม่ต่ำกว่าระดับ 400 ของหมวดเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม อย่างน้อย 2 วิชา
  สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน    
ศ.581 เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.582 เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศ.390 เศรษฐศาสตร์การเกษตรเบื้องต้น  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.210 หรือ  ศ.211(หรือ ศ.213)
  บทบาทของการเกษตรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเกษตร การผลิต ตลาดและราคาสินค้าเกษตร  สถาบันการเกษตร  สถานการณ์ด้านการเกษตรของโลกและของไทย  การเกษตรกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย  
ศ.491 การผลิตและนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 
  การผลิต ต้นทุนการผลิต และอุปทานของสินค้าเกษตรในระยะสั้นและระยะยาว โครงสร้างตลาดปัจจัยการผลิต การผลิตและการตัดสินใจลงทุนภายใต้ภาวะความเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ผลิตภาพและประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตร บทบาทและอิทธิพลของสถาบัน เช่น ระบบการถือครองที่ดิน ระบบสินเชื่อ ระบบสหกรณ์ นโยบายของรัฐที่ส่งผลต่อการผลิตทางการเกษตร
ศ.492 การตลาดสินค้าเกษตรและนโยบาย   3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 
  บทบาทและความสำคัญของราคาสินค้าเกษตร ลักษณะของอุปสงค์และการตอบสนองของอุปทานของสินค้าเกษตร ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ต่อรายได้ และความยืดหยุ่นไขว้ของสินค้าเกษตร การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเกษตรต่างเวลาและสถานที่ การเก็บกักและฤดูกาลของสินค้าเกษตร การวิเคราะห์นโยบายราคา ช่องทางการตลาด ประสิทธิภาพการตลาด การตลาดสินค้าเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า การแทรกแซงราคาของรัฐ มาตรการกีดกันทางการค้า สินค้าเกษตรในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนนโยบายการตลาดและราคาสินค้าเกษตรของต่างประเทศที่มีผลต่อประเทศกำลังพัฒนา
ศ.493 เศรษฐศาสตร์สถาบันว่าด้วยการเกษตร 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 
  แนวคิดเบื้องต้นด้านเศรษฐศาสตร์สถาบันว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจและการเกษตร ประวัติศาสตร์แนวคิดการพัฒนาภาคเกษตร บทบาทของนโยบายรัฐ ตลาด และกติกาตลาดทั้งภายในประเทศและระดับโลก และชุมชนและภาคประชาสังคมในการพัฒนาการเกษตร ทุนทางสังคมและการรวมกลุ่มของเกษตรกร มิติการเมืองในการกำหนดนโยบายการเกษตร บทบาทของวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมต่อวิถีการผลิต บทบาทของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสถาบันในภาคเกษตร
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.494 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยอาหารและนโยบายอาหาร  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311 
  แนวคิดและกรอบในการทำความเข้าใจระบบอาหารของประเทศกำลังพัฒนาและของโลก ตลาดอาหารและห่วงโซ่อุปทานของอาหาร พฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดสินค้าอาหาร การกลายเป็นอุตสาหกรรมของการผลิตสินค้าอาหาร ระบบอาหารสมัยใหม่และระบบอาหารท้องถิ่น เป้าหมายและนโยบายการพัฒนาของประเทศด้านอาหาร เช่น สิทธิการเข้าถึงอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร โครงการสนับสนุนทางโภชนาการ ผลกระทบของนโยบายรัฐด้านต่าง ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นร่วมสมัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านอาหาร เช่น ความปลอดภัยในอาหาร ตลาดอาหารอินทรีย์ การตัดแต่งทางพันธุกรรม เป็นต้น
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.495 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการเกษตร  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.311     
  บทบาทและความสำคัญของธุรกิจการเกษตรในระบบเศรษฐกิจ ศึกษาเครื่องมือเศรษฐศาสตร์เพื่อการตัดสินใจของธุรกิจการเกษตร รวมทั้งวิเคราะห์กลยุทธ์ทางธุรกิจต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ในการจัดหาวัตถุดิบในการผลิต การแปรรูปและเก็บรักษา การใช้นวัตกรรมในการผลิต การแบ่งเกรดและทำฉลาก การรวมกลุ่มธุรกิจรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงนโยบายรัฐและประเด็นร่วมสมัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเกษตร  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.499 สัมมนาเศรษฐศาสตร์การเกษตร  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ ศ.491 และ ศ.492
    สัมมนาและวิจัยในหัวข้อเศรษฐศาสตร์การเกษตร ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากผู้สอน
ศ.591 เศรษฐศาสตร์การเกษตร : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การเกษตร ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.592 เศรษฐศาสตร์การเกษตร : ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2            3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : ผู้สอนกำหนด
  ศึกษาเฉพาะเรื่องที่เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในด้านเศรษฐศาสตร์การเกษตร ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
มธ.124 สังคมกับเศรษฐกิจ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : -
  แนวทางการศึกษาและการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจในฐานะที่วิชานี้เป็นการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ แล้วนำสู่การวิเคราะห์วิวัฒนาการของสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภาพกว้างของโลกและของประเทศไทย โดยเน้นให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมและสถาบันที่มีต่อระบบสังคมเศรษฐกิจ  
ศ.200 วิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เศรษฐกิจ  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : นักศึกษาฐานะชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป
  เรียนรู้การจัดการข้อมูล ในประเด็นต่อไปนี้ (1) การจัดเก็บข้อมูลการทำความสะอาดข้อมูล (Data Sampling and Cleaning) (2) การจัดการและจัดเก็บข้อมูล (3) การวิเคราะห์ข้อมูล (Exploratory Data Analysis) (4) การพยากรณ์จากข้อมูล โดยใช้เครื่องมือทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์สมการถดถอย (Regression) การจำแนก (Classification) และ การวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม (Cluster Analysis) (5) การสื่อสารผ่านแผนภาพ และสถิติข้อมูล ซึ่งวิชานี้จะใช้ข้อมูลจริง และผู้เรียนสามารถใช้โปรแกรม เช่น MS Excel, Python หรือ R เป็นต้น  
ศ.300 การฝึกงาน                       3 (3-0-6) (ไม่น้อยกว่า 135 ชั่วโมง)
  วิชาบังคับก่อน : นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ฐานะชั้น ปีที่ 2 ขึ้นไป
  นักศึกษาได้รับประสบการณ์และพัฒนาทักษะผ่านการทำงาน ในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน โดยนักศึกษาจะต้องระบุเป้าหมายการเรียนรู้กับผู้ประสานงานในช่วงต้นของการฝึกงาน นักศึกษาจะต้องเขียนบันทึกการทำงานในแต่ละสัปดาห์ และเมื่อการฝึกงานเสร็จสิ้น นักศึกษาจะต้องเขียนรายงานเพื่อสะท้อนประสบการณ์การฝึกงาน
หมายเหตุ : การวัดผลสำหรับวิชานี้แบ่งออกเป็นสองระดับ ระดับใช้ได้ (S) และ ระดับใช้ไม่ได้ (U)  
ศ.400 สัมมนาสำหรับปริญญานิพนธ์  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : (ก) สอบได้ วิชาคณะเศรษฐศาสตร์ไม่ต่ำกว่าระดับ 400 อย่างน้อยสามวิชา  และ  (ข) ต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมรวมไม่ต่ำกว่า 3.25 (นับถึงภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน)
  การสัมมนาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำปริญญานิพนธ์ เนื้อหาวิชาประกอบไปด้วย ระเบียบวิธีวิจัย การตั้งคำถามในทางการวิจัย การค้นคว้างานวิจัยในอดีตและการทำวรรณกรรมปริทัศน์ การระบุวิธีการตอบคำถามเพื่อการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล การพัฒนาและนำเสนอโครงสร้างปริญญานิพนธ์
หมายเหตุ : เปิดเฉพาะภาคเรียนที่ 1 ของแต่ละปีการศึกษา 
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศ.500 ปริญญานิพนธ์  3 (3-0-6)
  วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ.400 หรือ (ข) วิชาสัมมนาอย่างน้อยหนึ่งหมวดวิชา และ มีเกรดเฉลี่ยสะสมรวมไม่ต่ำกว่า 3.25 (นับถึงภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน) และ ได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์
  การศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานวิจัยในหัวข้อเฉพาะ ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์  
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์