คำถาม-ตอบ

Answer : ใบมอบฉันทะ + สำเนาบัตรประชาชนของตนเอง(รับรองสำเนาถูกต้อง) + สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบฉันทะ(รับรองสำเนาถูกต้อง)
 
Answer :
Step 1...ติดต่อธนาคารกรุงเทพ เพื่อขออายัดบัตร
Step 2....Log in เข้าระบบบริการ www.reg.tu.ac.th เพื่อขอทำบัตรนักศึกษาใบใหม่
ไปที่เมนู ประวัตินักศึกษา > ทำบัตรนักศึกษา > บันทึกข้อมูล > ยืนยันและส่งข้อมูล
Step 3...ตรวจสอบวันรับบัตรนักศึกษา ผ่านเมนู “ติดตามสถานะบัตรนศ.”
Step 4...ติดต่อธนาคารกรุงเทพ เพื่อรับบัตรนักศึกษา ตามวันที่กำหนดในระบบ
ธ.กรุงเทพ สาขา มธ. ท่าพระจันทร์ 0 2222 2481-2
ธ.กรุงเทพ สาขา มธ. ศูนย์รังสิต 0 2564 2751-3
ธ.กรุงเทพ สาขาสยามคันทรีคลับ 038 405 196-9
ธ.กรุงเทพ สาขาสบตุ๋ย 054 218 109, 054 226 015
*ค่าธรรมเนียมการทำบัตรใบใหม่ 100 บาท
Answer : นักศึกษาลาพักได้ไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาติดต่อกัน ยกเว้นจะมีเหตุอันสมควรและได้รับอนุมัติจากอธิการบดี การลาพักการศึกษาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ไม่อาจถือเป็นเหตุขยายเวลาการศึกษาให้เกิน 8 ปีได้
ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี  พ.ศ. 2561 หมวด 1 ระบบการจัดการศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา ข้อ 11 คลิกที่ : https://www.reg.tu.ac.th/th/Picture/AttFile/279893db-4b83-4fbd-a1fb-3b8fc77e6d99
 
Answer : ระดับปริญญาตรี
  • ภาค 1 หรือ ภาค 2 : ต่ำสุด 9 หน่วยกิต ยกเว้น เจ็บป่วยและต้องได้รับอนุมัติจากคณบดี หรือ กรณีที่คาดว่าจะเป็นภาคสุดท้ายของการศึกษารายวิชาของนักศึกษาเท่านั้น / สูงสุด 22 หน่วยกิต  ยกเว้น กรณีที่เป็นนักศึกษาที่มีฐานะชั้นปีที่ 4 โดยได้รับอนุมัติจากอธิการบดี
  • ภาคฤดูร้อน : สูงสุด 6 หน่วยกิต หากจะจดทะเบียนฯ เกินกว่า 6 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 9 หน่วยกิต  ทำได้ในกรณีที่คาดว่าจะเป็นภาคสุดท้ายของการศึกษารายวิชาของนักศึกษาและได้รับอนุมัติจากคณบดี            ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 5 การลงทะเบียนเรียน คลิกที่ https://www.reg.tu.ac.th/th/Picture/AttFile/279893db-4b83-4fbd-a1fb-3b8fc77e6d99
Answer : นศ. สามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินได้จากระบบ TU Greats App (หลังจากชำระเงิน ประมาณ 1-2 วัน)...
ใบเสร็จสามารถนำไปใช้งานได้เลย โดยไม่ต้องนำไปประทับตราแล้ว
หากนักศึกษาพบปัญหาการชำระเงินค่าลงทะเบียน และการพิมพ์ใบเสร็จ
ติดต่อสอบถามผ่าน TU Greats App Helpdesk https://lin.ee/l6CNl3N
#เอกสารประกอบการเบิกค่าเล่าเรียน
- เอกสารประกอบการเบิกค่าเล่าเรียน https://www.reg.tu.ac.th/post/read/251
- ระเบียบ มธ. ว่าด้วยค่าธรรมเนียม (สำหรับ นศ. ปริญญาตรีโครงการปกติ) https://www.reg.tu.ac.th/th/post/read/159
Answer : สำนักงานทะเบียนนักศึกษาจะทำเรื่องส่งไปที่กองคลัง เพื่อคืนค่าธรรมเนียมฯ โดยคืนเข้าบัญชีธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของนักศึกษาของนักศึกษา ประมาณ 3 สัปดาห์ หลังวันสุดท้ายของช่วงจดทะเบียนฯล่าช้า/เพิ่ม - ถอน
 
Answer : แล้วแต่กรณี
             1. กรณีนักศึกษาเหมาจ่าย ไม่คืนค่าธรรมเนียมฯ
             2. กรณีนักศึกษาไม่เหมาจ่าย
                2.1 ถ้าถอนรายวิชาด้วยเหตุผลส่วนตัว จะได้คืนค่าหน่วยกิตและค่าอุปกรณ์กึ่งหนึ่ง
                2.2 ถ้าคณะปิดรายวิชา นักศึกษาจะได้คืนค่าหน่วยกิตและค่าอุปกรณ์เต็มจำนวน
ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 18 ค่าธรรมเนียมและการขอคืนค่าธรรมเนียม คลิกที่ : https://www.reg.tu.ac.th/th/Picture/AttFile/279893db-4b83-4fbd-a1fb-3b8fc77e6d99



 
Answer : หากนักศึกษาไม่จดทะเบียนในภาคการศึกษาใด นักศึกษาต้องขอลาพัก โดยยื่นเรื่องเป็นหนังสือขอลาพักต่อคณบดี และต้องชำระค่าธรรมเนียมการรักษาสถานภาพภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาค มิฉะนั้นจะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษาตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 5 การลงทะเบียนเรียน ข้อ 24 นักศึกษาผู้ใดไม่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาใด และไม่ได้ขอลาพักการศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันเปิดภาคการศึกษาของภาคการศึกษานั้น ให้ถอนชื่อนักศึกษาผู้นั้นออกจากทะเบียนนักศึกษา หรือคลิกที่ : https://www.reg.tu.ac.th/th/Picture/AttFile/279893db-4b83-4fbd-a1fb-3b8fc77e6d99
 
Answer : ให้นักศึกษาจดทะเบียนฯ ในช่วงจดทะเบียนฯ ล่าช้า/เพิ่ม-ถอน หลังจากเปิดภาคเรียนแล้วตามที่ปฏิทินการศึกษากำหนด โดยต้องเสียค่าปรับอัตราต่อวัน วันละ 45 บาท โดยเริ่มคิดค่าปรับตั้งแต่วันแรกของช่วงการจดทะเบียนฯ ล่าช้า/เพิ่ม - ถอน (ไม่คิดค่าปรับวันหยุด)
 
Answer : กรณีเพิ่มรายวิชาไม่สำเร็จ ติดต่อคณะที่นักศึกษาสังกัด ขอทำเรื่องเพิ่มวิชากรณีพิเศษ โดยจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มวิชาล่าช้า วันละ 45 บาท โดยเริ่มนับวันถัดไปจากวันสิ้นสุดวันเพิ่ม - ถอน
 
Answer : วิชา EC คณะไม่อนุญาตให้เลื่อนสอบ นักศึกษาดำเนินการติดต่อวิชานอกคณะ
Answer : การเรียนวิชาสัมมนาต้องผ่านวิชาบังคับก่อนของวิชาสัมมนานั้น ๆ โดยสามารถดูจากข้อบังคับในการคำอธิบายรายวิชาวิชาสัมมนาที่นักศึกษาจะเรียนตัวอย่าง เช่น วิชา EC459 ต้องสอบได้วิชา EC451 และ EC452 เป็นต้น
 
Answer : หากวิชาที่เปิดรับนักศึกษาดำเนินการกดในช่วงเพิ่ม-ถอนได้ คณะจะดำเนินการประกาศ  วิชาที่งดรับ – รับเพิ่ม โดยรายวิชาที่เปิดรับจะเป็นรหัสย่อ 1/S …. คือ จำนวนที่นั่งตามที่คณะประสงค์รับ นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้โดยไม่ต้องขอโควตา ในช่วงเพิ่ม – ถอนได้เลย ถ้าระบุว่า “งดรับ” นักศึกษาจะต้องเขียนคำร้องพร้องชี้แจงเหตุผลอย่างละเอียด (กำหนดการยื่นคำร้องตามประกาศ) เพื่อจะได้เสนอผู้อำนวยการโครงการฯ พิจารณาต่อไป
 
Answer : การคำนวณเกรดถ้าเป็น GPA รวม นำมาคำนวณทุกตัวที่ศึกษา
 
Answer : นักศึกษาสามารถวางแผนเรียนวิชา EC เกิน 5 ตัวได้ โครงการฯ กำหนดการยื่นคำร้องในช่วงระบบ Academic plan เปิด ผลพิจารณาคำร้องโครงการฯ จะดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง ทั้งนี้ โครงการฯ ดำเนินการพิจารณาคำร้องปีสูงสุดก่อน
 
Answer : หลักสูตร 61 นักศึกษาสามารถเลือกระหว่างวิชา EC404 , EC406 และ EC460 วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นวิชาเฉพาะด้านได้ ตามโครงสร้างหลักสูตร 2561 ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถตรวจสอบเงื่อนตามลิงก์ที่แนบ https://www.econ.tu.ac.th/bachelor-degree/thai-project/document

 
Answer : หลักสูตร 56 วิชา EC460 เป็นวิชาบังคับ
              หลักสูตร 61 นักศึกษาสามารถเลือกระหว่างวิชา EC404 , EC406 และ EC460 วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นวิชาบังคับเลือก
 
Answer : ไม่ได้ เนื่องจากนักศึกษาจะนำวิชาในหลักสูตรศึกษาทั่วไปทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ที่ใช้รหัสย่อ “มธ.” ระดับ 100 คือ มธ.100 – มธ.156 มานับเป็นวิชาเลือกเสรีไม่ได้
 
Answer : นักศึกษาไม่สามารถจดทะเบียนได้ ต้องเลือกวิชาไหน วิชาหนึ่ง และคณะไม่เลื่อนวันสอบปลายภาค
 
Answer : ตอนนักศึกษาแจ้งจบการศึกษา นักศึกษาต้องสอบไล่ได้ค่าระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00  
             (คำนวณจากทุกวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาอยู่ในโครงสร้างหลักสูตรของวิชาเฉพาะสาขา)

** ข้อแนะนำ นักศึกษาควรตรวจสอบผลการศึกษาและพยายามรักษาผลการศึกษาให้ไม่ต่ำกว่า 2.00 จะไม่อันตรายตอนนักศึกษาแจ้งจบการศึกษา**
 
Answer : 1. นักศึกษาจะต้องสอบไล่รายวิชา ศ.311 หรือ ศ.312 โดยได้ค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า C
              2. นักศึกษาต้องสอบไล่ได้ค่าระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00                          
              (คำนวณจากทุกวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาอยู่ในโครงสร้างหลักสูตรของวิชาเฉพาะสาขา โดยไม่นับรวมวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาเป็นวิชาเลือกเสรีสำหรับวิชา EC311 และ EC312 นั้น หากนักศึกษาเรียนซ้ำให้นับเฉพาะผลการเรียนที่ดีที่สุดมาคำนวณ)

 
Answer : การขอย้าย Section โดยปกติไม่สามารถกระทำใด้ เนื่องจากคณะได้จัดการเรียนการสอนตามจำนวนนักศึกษาที่ได้วางแผนการเรียนไว้กับคณะฯ แต่ทั้งนี้หากนักศึกษามีความจำเป็นมีเหตุผลอันควร ก็สามารถยื่นคำร้องได้เฉพาะนักศึกษาปี 4 ขึ้นไปที่ประสงค์จะจบการศึกษาในภาค/ปีการศึกษานั้น
 
Answer : ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากวิชา EC213 เปิดให้สำหรับนักศึกษานอกคณะเศรษฐศาสตร์เท่านั้น หากนักศึกษาต้องการย้ายคณะสามารถเทียบรายวิชา EC211 เป็นวิชา EC213 ได้
Answer : วิชาหลักในคณะฯ EC211 EC212 EC311 และ EC312 นักศึกษาไม่สามารถจดทะเบียนเรียนพร้อมกันได้
ตามประกาศของคณะเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ข้อกำหนดในการลงทะเบียนวิชาหลักเศรษฐศาสตร์
(ถ้าหากนักศึกษาลงจดทะเบียนเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งจะถือว่าวิชาดังกล่าวมีผลเป็นโมฆะ)
Answer : นักศึกษาจะ Regrade วิชานั้นได้ ก็ต่อเมื่อเป็นวิชาที่หลักสูตรกำหนดไว้ต้องสอบผ่านได้ ระดับ C ขึ้นไป หรือ ระดับ B นักศึกษาต้องจดทะเบียนเพื่อเรียนซ้ำ และสอบให้ได้ระดับเกรดที่หลักสูตรกำหนด ทั้งการคำนวณวิชาที่ Regrade จะนับหน่วยกิตให้เพียงครั้งเดียว คือ ครั้งแรกที่จดทะเบียนเรียน ส่วนวิชาที่จดทะเบียนเพื่อเรียนซ้ำ จะไม่ได้รับหน่วยกิต (CREDIT EARNED) แต่จะนำจำนวนหน่วยกิต เป็นตัวหาร (CREDIT LOAS) เพื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ยระดับภาค และค่าเฉลี่ยสะสม

Answer : “W” ไม่มีผลต่อเกียรตินิยม เพราะถือยังไม่ได้ศึกษาวิชานั้น จึงไม่เป็นการศึกษาซ้ำในวิชา
          หมายเหตุ:  1. การเรียนซ้ำในรายวิชาใด หมายถึงรายวิชาที่เรียนนั้น ๆ ได้มีเกรดแล้ว เช่น ได้เกรด C , D  หรือ F แล้วเรียนใหม่ (รีเกรด) จะไม่ได้รับเกียรตินิยม แต่การติด W ไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขการรับเกียรตินิยมเนื่องจากยังเรียนไม่สำเร็จ ยังไม่วัดผลเป็นเกรดออกมา ติด W ยังรับเกียรตินิยม
                                   
2. ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี  พ.ศ. 2561 หมวด 16 การได้รับปริญญาเกียรตินิยม คลิกที่ : https://www.reg.tu.ac.th/th/Picture/AttFile/279893db-4b83-4fbd-a1fb-3b8fc77e6d99