คำอธิบายรายวิชา

รายละเอียดวิชา

ศ.609 เศรษฐศาสตร์การเมืองและเศรษฐศาสตร์สถาบัน: ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2
EC609 Political Economy and Institutional Economics: Selected Topics 2

เรื่องเฉพาะที่เป็นหัวข้อในเศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์สถาบัน และประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ หัวข้อที่จะศึกษาเปลี่ยนแปลงตามความสนใจของผู้บรรยายและนักศึกษา
 

ศ.608 เศรษฐศาสตร์การเมืองและเศรษฐศาสตร์สถาบัน: ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1
EC608 Political Economy and Institutional Economics: Selected Topics 1

เรื่องเฉพาะที่เป็นหัวข้อในเศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์สถาบัน และประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ หัวข้อที่จะศึกษาเปลี่ยนแปลงตามความสนใจของผู้บรรยายและนักศึกษา

This course covers selected topics in political economy and institutional economics. Topics vary depending on specific interests of the participants.

ศ.603 วิทยาศาสตร์ข้อมูลสาหรับเศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน
EC603 Data Science in Political Economy and Institutional Economics


การประยุกต์วิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับเศรษฐศาสตร์การเมือง และสถาบัน
 

ศ.602 เศรษฐศาสตร์สถาบัน
EC602 Institutional Economics

บทบาทของสถาบันต่อพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจ ต่อผลลัพธ์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วย เศรษฐกิจ และต่อสังคมเศรษฐกิจ วิวัฒนาการของสถาบัน การออกแบบสถาบัน และกติกากำกับเศรษฐกิจ (Economic Governance) เช่น ตลาด รัฐ และชุมชน ประเด็นเฉพาะเรื่องหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent) อำนาจ (Power) ค่านิยมส่วนรวม (Norm) ทุนสังคม (Social Capital) นิติเศรษฐศาสตร์ (Law and Economics) เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเมือง (Economic of Politics) เป็นต้น

ศ.601 ประวัติแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์
EC601 History of Economic Thought

ปรัชญาและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่ระดับญาณวิทยา (Epistemology) วิธีวิทยา (Methodology) จนถึงแนวคิดทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์สำนักต่างๆ เช่น พาณิชย์นิยม คลาสสิก มาร์กเซียน เคนส์เซียน นีโอ คลาสสิก สังคมนิยม โพสต์เคนส์เซียนสถาบัน เป็นต้น โดยเน้นปรัชญาพื้นฐาน สาระสำคัญของแนวคิดทฤษฎี และบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่ส่งผลต่อแนวคิดทฤษฎีในแต่ละยุคสมัย
รายละเอียดวิชา

ศ.619 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์: ศึกษาเฉพาะเรื่อง 2
EC619 Economic Theory: Selected Topics 2

วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ศ.612
เรื่องเฉพาะที่เป็นหัวข้อในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ หัวข้อที่จะศึกษาเปลี่ยนแปลงตามความสนใจของผู้บรรยายและนักศึกษา

ศ.618 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์: ศึกษาเฉพาะเรื่อง 1
EC618 Economic Theory: Selected Topics 1

วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ศ.612
เรื่องเฉพาะที่เป็นหัวข้อในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ หัวข้อที่จะศึกษาเปลี่ยนแปลงตามความสนใจของผู้บรรยายและนักศึกษา

ศ.617 แบบจำลองดุลยภาพทั่วไปสำหรับการวางแผนและการวิเคราะห์นโยบาย
EC617 Computable General Equilibrium (CGE) Modeling for Planning and Policy Analysis

วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ศ.611 หรือ ศ.612
วิชานี้มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์การส่งผ่านผลกระทบผ่านในทั้งระบบเศรษฐกิจจากการวางแผนและการดาเนินนโยบายด้านการพัฒนา โดยจะเน้นไปที่การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นแบบจาลองดุลยภาพทั่วไปสาหรับการวิเคราะห์ผลกระทบในกรณีต่างๆ โดยการจัดสร้างแบบจาลองเริ่มต้นจากการเข้าใจพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจผ่านตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต และการขยายตารางดังกล่าวเป็น social accounting matrix และพัฒนาต่อเนื่องเป็นแบบจาลองดุลยภาพทั่วไป ทั้งนี้นอกการศึกษาเทคนิคและขั้นตอนในการจัดสร้างแบบจาลองแล้ว ยังครอบคลุมถึงการประยุกต์ใช้แบบจาลองในการวิเคราะห์นโยบายในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ การปรับโครงสร้าง การค้าระหว่างประเทศ รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเชิงสังคม

ศ.616 นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจเมืองและภูมิภาค 
EC616 Urban and Regional Development Policy

วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ศ.611 หรือ ศ.612
วิเคราะห์กรอบทฤษฎีและนัยเชิงนโยบายของผลกระทบจากการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจที่มีต่อการ พัฒนาพื้นที่เขตเมืองและเขตภูมิภาคอื่น ๆ วิพากษ์วิเคราะห์ผลของการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (Irreversible investment) ระหว่างการพัฒนาใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมืองและเขตภูมิภาค และนัยเชิงนโยบายของการใช้ อัตราภาษีที่แตกต่างกันตามเขตพื้นที่ วิเคราะห์ผลกระทบของการคาดการณ์เก็งกำไรจากการลงทุนขนาดใหญ่ ของภาครัฐที่จะมีต่อภาวะฟองสบู่ในราคาที่ดินซึ่งจะมีผลไปบิดเบือนให้เกิดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสมในระยะยาว และผลของกระจุกตัวของการใช้จ่ายสุทธิของการคลังท้องถิ่นในบางพื้นที่ที่จะไปบิดเบือนผลการตัดสินใจเลือกพื้นที่การลงทุนที่เหมาะสมของภาคเอกชน อันเนื่องมาจากภาวการณ์มีดุลยภาพที่หลากหลายรูปแบบ
 

ศ.615 เศรษฐศาสตร์ร่วมสมัย 2
EC615 Contemporary Economic Issues 2

นำเสนอประเด็นวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ที่ร่วมสมัยในสาขาต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำทฤษฎีและ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในสาขาต่างๆ ไปประยุกต์ใช้และเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสามารถสำรวจองค์ความรู้
ต่างๆ ที่จำเป็นสาหรับนำไปใช้ในการทาวิจัยระดับสูง
This course further explores economic issues in Thai and global economy. The main objective of this course is to apply economic theories and concepts to analyze current Thai and global
conomic issues for more advanced level.

ศ.614 เศรษฐศาสตร์ร่วมสมัย 1
EC614 Contemporary Economic Issues 1

นำเสนอประเด็นวิวาทะทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นปัจจุบันทั้งที่เกิดขึ้นกับ เศรษฐกิจประเทศไทยและเศรษฐกิจโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อนาทฤษฎี และแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์ใช้และเพื่อกระตุ้นให้ นักศึกษาตื่นตัวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจรอบตัว
 

ศ.613 วิทยาศาสตร์ข้อมูลสาหรับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
EC613 Data Science in Economic Theory

การประยุกต์วิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

ศ.611 เศรษฐศาสตร์จุลภาค
EC611 Microeconomics

ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค ปัญหาการตัดสินใจของผู้บริโภค และลักษณะต่าง ๆ ของผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจ ความเกี่ยวพันระหว่างปัญหา Utility Maximization และ Expenditure Minimization การตัดสินใจข้ามเวลา ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ทฤษฎีการตัดสินใจของผู้ผลิตซึ่งเชื่อมโยงระหว่งปัญหา Profit Maximization และ Cost Minimiztion ทฤษฎีเกมและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมกับประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ปัญหาอำนาจเหนือตลาด ทฤษฎีดุลยภาพองค์รวม (General Equlilibrium) และเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ ตลอดจนปัญหาอันเนื่องมาจากความล้มเหลวของตลาด เช่น ปัญหาผลกระทบภายนอก ปัญหาการเลือกที่เป็นปฏิปักษ์ (Adverse Selection) ปัญหาคุณธรรมวิบัติ (Moral Hazard) สินค้าสาธารณะ และการศึกษาทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Social Choice Theory) เป็นต้น

ศ.612 เศรษฐศาสตร์มหภาค
EC612 Macroeconomics

แบบจำลองดุลภาพร่วมในตลาดการเงิน ตลาดผลผลิต และตลาดเงินตราต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ ตลาดผลผลิตและตลาดแรงงาน แบบจำลองอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวมในระบบเศรษฐกิจ แบบจำลองการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ ได้แก่ แบบจำลอง Solow แบบจำลองของ Ramsey Cass-Koopman แบบจำลอง Overlapping Generation และแบบจำลอง Endogenous และแบบจำลองวัฎจักรธุรกิจทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคในเชิงพลวัต ประกอบด้วย โปรแกรมพลวัต และแบบจำลอง Recursive นโยบายการคลังเชิงพลวัต นโยบายการเงินเชิงพลวัต เช่น ต้นทุนสวัสดิการของเงินเฟ้อ ปัญหาความไม่สอดคล้องด้านเวลา (Time inconsistency) ของนโยบายการเงิน
รายละเอียดวิชา

ศ.620 สถิติสาหรับนักเศรษฐศาสตร์
EC620 Statistics for Economists

ศึกษาสถิติสำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ความน่าจะเป็น การกระจายแบบต่าง ๆ ค่าคาดหวังสหสัมพันธ์ การประมาณค่า การ่ทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน สมการถดถอยเชิงเส้น

ศ.623 คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูล
EC623 Mathematics for Data Science

จุดประสงค์ของวิชานี้ คือการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับการนำไป ประยุกต์ใช้งานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเครื่อง ประกอบไปด้วย เวกเตอร์และเมทริกซ์, การคำนวณแก้ระบบ สมการเชิงเส้นและ การโปรแกรม การประยุกต์ของตัวดำเนินการเวกเตอร์ นอร์ม ความยาวและระยะทาง มาตรวัดความเหมือน การแตกเมทริกซ์ ตัวดำเนินการเมทริกซ์และการประยุกต์ อนุพันธ์ การประยุกต์ เกรเดียน ความน่าจะเป็นและ การกระจาย ตลอดจนการศึกษาเทคนิคการคำนวณค่าเหมาะสม โมเดลการ เรียนรู้ข้อมูล การถดถอยเชิงเส้น เทคนิคการลดมิติ

ศ.624 การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูลในทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน
EC624 Machine Learning for Data Science in Economics and Finance

วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ศ.623

เรียนรู้การงานของการเรียนรู้ของเครื่องด้วยเทคนิคต่างๆ โดยเน้นการประยุกต์ใช้ในทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน เรียนรู้การทำงานสำหรับกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ ซับซ้อนและมีตัวรบกวน ในกลุ่มข้อมูลทาง เศรษฐศาสตร์และการเงิน เนื้อหาในรายวิชานี้จะเน้นการเรียนรู้ทฤษฎีที่เป็นหลักพื้นฐานในการทำงาน เรียน คณิตศาสตร์และหลักการทำงานของอัลกอรลึทิมที่สำคัญ ตลอดจนการฝึกปฎิบัติในการนำไปประยุกต์ใช้ใน งานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ศ.625 เศรษฐมิติ
EC625 Econometrics


แบบจำลองสมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบเมทริกซ์ด้วยวิธีการประมาณค่าแบบก าลังสองน้อยที่สุด แบบปกติ ปัญหาทางเศรษฐมิติที่เกิดจากสมมุติฐานของแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นตรงไม่เป็นจริงและ แนวทางการแก้ปัญหา การประมาณค่าแบบจำลองถดถอยพหุคูณด้วยวิธีอื่นๆ เช่น วิธีการกำลังสองน้อยที่สุด แบบทั่วไป วิธีตัวแปรเครื่องมือ วิธีการควรจะเป็นสูงสุด การวิเคราะห์แบบจำลองข้อมูลภาคตัดขวางอนุกรม เวลา แบบจำลองอนุกรมเวลา และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เศรษฐมิติในการประมาณค่าแบบจำลอง การ ตีความและอภิปรายผลที่ได้จากการประมาณค่า