คำอธิบายรายวิชา

รายละเอียดวิชา
ศธ.501 เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคเบื้องต้น 2 (2-0-6)
MB.501 Introduction to Microeconomics and Macroeconomics
  (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
  ความหมายและหลักทั่วไปของเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยมูลค่า ราคา และการจัดสรรทรัพยากร ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคและพฤติกรรมการผลิต โดยเน้นปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้า ศึกษาการกำหนดราคาและประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรในตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดผูกขาด ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดปัจจัยการผลิต แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ความหมายและวิธีการศึกษาเศรษฐศาสตร์ ดัชนีชี้สภาวะเศรษฐกิจมหภาค เป้าหมายและปัญหาในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค หลักการคำนวณรายได้ประชาชาติ ทฤษฎีการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ทฤษฎีการบริโภคมวลรวม ทฤษฎีอุปสงค์ของเงินและอุปทานของเงิน แบบจำลองดุลยภาพร่วมของตลาดผลผลิตและตลาดเงิน นโยบายการเงินและการคลังในการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ดุลการชำระเงิน และการจ้างงาน
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.502 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติและคณิตศาสตร์ 2 (2-0-6)
MB.502 Introduction to Statistics and Mathematics
  (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
  สถิติและคณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ เช่น แคลคูลัสและอินทิกัลเบื้องต้น ทฤษฎีความน่าจะเป็น การประมาณค่าทางสถิติ การทดสอบสมมุติฐาน และสมการถดถอยและสหสัมพันธ์เบื้องต้น
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.503 ความรู้พื้นฐานทางการบัญชี และการเงิน 2 (2-0-6)
MB.503 Introduction to Economics for Accounting and Finance
  (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
  หน้าที่ บทบาท และความสำคัญของการบริหารการบัญชีและการเงิน เช่น งบกำไร ขาดทุน งบดุล งบกำไรสะสม และงบกระแสเงินสด รวมทั้งการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ กระแสเงิน สดหมุนเวียนและงบกระแสเงินสดสำหรับนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผน และบริหารงานในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศธ.613 เศรษฐศาสตร์การจัดการ 3 (3-0-9)
MB.613 Managerial Economics
  การประยุกต์เศรษฐศาสตร์จุลภาคที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจภายใต้สภาวะต่างๆ ในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจของธุรกิจ เช่น วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และผู้ผลิตที่มีผลกระทบต่อ การจัดสรรและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิเคราะห์อุปสงค์ตลาดเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การประมาณการและพยากรณ์อุปสงค์ การประมาณการและพยากรณ์ต้นทุน การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน รวมถึงการวิเคราะห์การกำหนด ราคาภายใต้ตลาดรูปแบบต่างๆ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเข้าแทรกแซงตลาดโดยรัฐบาลต่อการดำเนินธุรกิจในระยะสั้นและระยะยาว
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.614 เศรษฐศาสตร์มหภาคประยุกต์/strong> 3 (3-0-9)
MB.614 Applied Macroeconomics
  การประยุกต์เศรษฐศาสตร์มหภาค วิเคราะห์แนวคิดและตัวชี้เศรษฐศาสตร์มหภาค เช่น การผลิต การจ้างงาน รายได้ รายจ่าย และระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปการวิเคราะห์ตัวแปรเศรษฐศาสตร์มหภาคที่มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจต่างๆและระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม วิเคราะห์แนวคิดและผลกระทบของนโยบายการเงินและการคลังที่มีต่อการผลิตการจ้างงาน รายได้ รายจ่ายของประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมถึงการทำความเข้าใจเรื่องแนวคิดการประมาณการและการพยากรณ์เศรษฐกิจในระดับมหภาค
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.615 เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ บัญชี และการตลาด 3 (3-0-9)
MB.615 Economics for Business Management Accounting and Marketing
  ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันประสบความสำเร็จโดยมุ่งเน้นถึงแนวความคิด หลักการ และนโยบาย การดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวะสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อเตรียมนักศึกษาให้สามารถเชื่อมต่อความรู้ที่จะศึกษาต่อไปในหลักสูตรปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ธุรกิจให้เข้ากับการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ เนื้อหาประกอบด้วย องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการจัดการการผลิต การจัดการข้อมูลบัญชีสำหรับการจัดการ การตลาด การจัดการทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี และกลยุทธ์การจัดการธุรกิจ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.617 เศรษฐศาสตร์การเงินธุรกิจ 3 (3-0-9)
MB.617 Business Financial Economics
  หลักการบริหารการเงินในองค์การ ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาถึงเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจทางการเงินที่สำคัญสามด้าน คือการลงทุน การจัดหาเงินทุน และนโยบายการจ่ายเงินปันผล เช่น การใช้เครื่องมือ NPV และ IRR วิเคราะห์การตัดสินใจ การลงทุนระยะยาว เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อให้การตัดสินใจทางการเงินที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ การบริหารการเงินจะต้องประกอบด้วย การวิเคราะห์และวางแผนทางการเงินในองค์กรโดยใช้เครื่องมือ เช่น Ratio Analysis, Cash Flow Analysis และอื่น ๆ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.628 ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 3 (3-0-9)
MB.628 Research Methodology and Statistics for Business Economics
  ศึกษาถึงระเบียบวิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ในแง่ทฤษฎีและปฏิบัติ โดยอาศัยหลักวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ศึกษาการตั้งโจทย์วิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ กระบวนการค้นหาคำตอบโดยใช้ความรู้ทางด้านสถิติ ทั้งการการประมาณค่าทางสถิติ (Statistical Estimation) การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) สหสัมพันธ์ และ สมการถดถอยเชิงเส้นที่มีตัวแปรอิสระตัวเดียวหรือหลายตัว การพยากรณ์ ทางสถิติ (Statistical Forecast) รวมทั้ง การนำความรู้ทางสถิติ มาใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลทาง เศรษฐกิจ และธุรกิจ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.683 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจ 3 (3-0-9)
MB.683 Economics for Business Strategies
  พฤติกรรมของผู้ประกอบการในตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์โดยพิจารณาถึงการใช้และการได้มาซึ่งอำนาจตลาด (Market Power) ของผู้ประกอบการ การโต้ตอบกันเชิงกลยุทธ์ (Strategic Interaction) ระหว่างผู้ประกอบการ และบทบาทของรัฐในด้านนโยบายการแข่งขัน (Competitive Policy) โดยเป็นการศึกษาทั้งด้านทฤษฎี และการประยุกต์ใช้เชิงธุรกิจ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศธ.633 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยตลาดเงินและสถาบันการเงิน 3 (3-0-9)
MB.633 Economics of Financial Markets and Institutions
  ศึกษาโครงสร้างและกลไกของตลาดเงินและตลาดทุนในมิติของเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ สินทรัพย์ทางการเงิน ความเสี่ยงและการแบกรับความเสี่ยงทางการเงิน ทฤษฎีว่าด้วยดุลยภาพการกำหนดราคาสินทรัพย์ทางการเงิน แบบจำลอง CAPM และ APT โครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ตราสารหนี้ ตราสารทุน อนุพันธ์ทางการเงิน ปัญหาสารสนเทศไม่สมมาตรของข้อมูลข่าวสารในตลาดการเงิน โครงสร้างและธุรกิจของสถาบันการเงิน การบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมทั้งระบบการประกันเงินฝาก และธุรกิจสถาบันการเงินในมิติของเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม การสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านการเงิน (ฟินเทค) การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการระดมทุน เงินสกุลดิจิทัล ไมโครไฟแนนซ์ และเทคโนโลยีบล็อกเชน
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.634 การวิเคราะห์และพยากรณ์ภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจ 3 (3-0-9)
MB.634 Business, Finance, and Economic Analysis and Forecast
  ศึกษาถึงวิธีการทางสถิติและแบบจำลองอนุกรมเวลา ที่ใช้ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ทิศทางและความเคลื่อนไหวของตัวแปรที่สำคัญต่อธุรกิจและเศรษฐกิจ ทั้งในระดับจุลภาค เช่น การประมาณการแบบจำลอง อุปสงค์และอุปทานของสินค้า และนำมาพยากรณ์อนาคต และระดับมหภาค เช่น แบบจำลองและการพยากรณ์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อทิศทางและการเคลื่อนไหวของตัวแปรเหล่านี้
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.635 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการลงทุน 3 (3-0-9)
MB.635 Economics of Investment
  ศึกษาถึงวิธีการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของตราสารหนี้ ตราสารทุน ออปชั่น และตราสารซื้อขายล่วงหน้า วิธีการประเมินอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์เดี่ยวและกลุ่มหลักทรัพย์ ปัจจัยกําหนดอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ศึกษาตลาดเงินและตลาดทุน
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.653 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ 3 (3-0-9)
MB.653 International Trade and Finance
  ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ โดยรวมทั้งทฤษฎีการค้าแนวใหม่ ทฤษฎีนโยบายการค้าศึกษาระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลก ซึ่งรวมทั้งองค์กรการค้าโลก และการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ทฤษฎีเกี่ยวกับดุลการค้า ชำระเงิน การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งการลงทุน โดยตรงและการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ตลอดจนการป้องกันความเสี่ยงอันเนื่องจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.654 นโยบายสาธารณะ โลกาภิวัตน์ และการพัฒนาเศรษฐกิจไทย 3 (3-0-9)
MB.654 Public Policy, Globalization, and the Development of Thai Economy
  ศึกษาพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะ โดยการนำทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ และเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบจากนโยบายการค้าการลงทุน และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีต่อเศรษฐกิจไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงกติกาการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับข้อตกลงและกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของรัฐในด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศและการลงทุนระหว่างประเทศ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.663 ธุรกิจกับสังคมไทย 3 (3-0-9)
MB.663 Business and Thai Society
  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ นโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย การดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง และการพัฒนาของภาคเศรษฐกิจและภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่สำคัญของไทย รวมทั้งบทบาทของภาครัฐที่มีส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของไทย
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.664 วิสัยทัศน์ทางธุรกิจ 3 (3-0-9)
MB.664 Business Vision
  ศึกษาแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ที่เหมาะสมต่อองค์กรธุรกิจ รวมทั้งศึกษาแนวคิด และวิธีการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเน้นการศึกษาจากประสบการณ์และมุมมองของผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จและนักคิดร่วมสมัย รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย ตามพันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร ที่ไม่ขัดต่อจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.665 กฎหมายเศรษฐกิจ 3 (3-0-9)
MB.665 Economic Law
  กระบวนการทางกฎหมายของไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อแทรกแซง ควบคุม ชี้นำ ส่งเสริม หรือจำกัดการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ทั้งภายในและระหว่างประเทศอันจะมีผลกระทบถึงการดำเนินการทางธุรกิจและประสิทธิภาพการจัดสรรและการใช้ทรัพยากรของประเทศโดยรวม ศึกษาเกี่ยวกับข้อตกลง และกฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของรัฐในด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎหมายธุรกิจที่สำคัญ
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.684 การวิเคราะห์และการประเมินโครงการ 3 (3-0-9)
MB.684 Project Analysis and Evaluation
  การใช้แนวคิด ทฤษฏีและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ในการประเมินโครงการในรูปแบบต่าง ๆ โดยเน้นการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) ในโครงการที่มีผลกระทบต่อสังคมต่าง ๆ เช่น การลงทุนจากโครงการของรัฐ การลงทุนทางการศึกษา การลงทุนทางสาธารณสุข การใช้เทคโนโลยีหรือมาตรการด้านสุขภาพ ทั้งการวิเคราะห์ในรูปแบบของต้นทุนผลตอบแทนต่อเอกชน (private cost/benefit) ต้นทุนผลประโยชน์ทางสังคม (social cost/benefit) ประสิทธิผลของต้นทุน (cost effectiveness) และอาจรวมถึงการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและทางด้านสุขภาพ (Environmental and Health Impacts Assessments: EIA & HIA) การพิจารณาผลกระทบของเทคโนโลยีหรือมาตรการด้านสุขภาพ มุมมองด้านความยั่งยืน จริยธรรม ความเสมอภาคในสังคม เป็นต้น
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.685 เศรษฐศาสตร์นวัตกรรมในยุคดิจิทัล 3 (3-0-9)
MB.685 Economics of Innovation in Digital Economy
  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประเด็นศึกษาครอบคลุมถึง บริบทของพัฒนาการและผลกระทบของนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลต่อธุรกิจและระบบเศรษฐกิจ แนวคิดแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี กระบวนการยอมรับนวัตกรรม การแพร่กระจายของนวัตกรรม การแข่งขันของตลาดแพลตฟอร์ม ตลาดสองด้าน ตลาดหลายด้าน ผลกระทบภายนอกอันเนื่องจากเครือข่าย และกรณีศึกษาในยุคปัจจุบัน
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.686 เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเพื่อการจัดการ 3 (3-0-9)
MB.686 Behavioral Economics for Management
  ศึกษาแนวคิดของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเพื่อใช้ในการจัดการ โดยเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบกรอบแนวคิดการตัดสินใจของผู้บริโภคภายใต้สมมุติฐานของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ประเด็นศึกษาครอบคลุม ทฤษฎีสำคัญ ๆ ของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม อาทิ ทฤษฎีผลักดัน และพฤติกรรมที่เกิดจากอคติประเภทต่างๆ อาทิ อคติทางความคิด และอคติทางอารมณ์ หลักฐานเชิงประจักษ์ของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมที่ใช้ในทางธุรกิจ รวมถึงแบบจำลองที่อาศัยปัจจัยเชิงสังคมวิทยาและปัจจัยเชิงจิตวิทยาในการอธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภค และกรณีศึกษาต่างๆ ทั้งจากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง และงานวิจัยเชิงการทดลอง
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.701 การศึกษาเฉพาะเรื่อง 1 3 (3-0-9)
MB.701 Selected Topics 1
  ประเด็นศึกษาแบบเจาะลึกเฉพาะเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้ศึกษาและผู้สอน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาในวิชาอื่น
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.702 การศึกษาเฉพาะเรื่อง 2 3 (3-0-9)
MB.702 Selected Topics 2
  ประเด็นศึกษาแบบเจาะลึกเฉพาะเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้ศึกษาและผู้สอน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาในวิชาอื่น
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศธ.703 การศึกษาเฉพาะเรื่อง 3 3 (3-0-9)
MB.703 Selected Topics 3
  ประเด็นศึกษาแบบเจาะลึกเฉพาะเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้ศึกษาและผู้สอน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาในวิชาอื่น
  • บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายละเอียดวิชา
ศธ.798 การค้นคว้าอิสระ 1 3 หน่วยกิต
MB.798 Independent Study 1
  วิชานี้ต้องการให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ต่างๆทางทฤษฎีมาหลอมรวมกันเพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในธุรกิจ สังคมและเศรษฐกิจ อันก่อให้เกิดความรู้ใหม่ เป็นการศึกษาในเชิงวิจัยเฉพาะเรื่องที่นักศึกษาสนใจ นักศึกษาต้องจัดทำและนำเสนอข้อเสนอการค้นคว้าอิสระ (Proposal) โดยได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ คณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการโครงการเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

 
 
ศธ.799 การค้นคว้าอิสระ 2 3 หน่วยกิต
MB.799 Independent Study 2
  วิชาบังคับก่อน: สอบได้ ศธ.798
  วิชานี้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนต่อจากภาคที่ลงทะเบียนวิชา ศธ.798 โดยนักศึกษาต้องนำข้อเสนองานวิจัยที่ผ่าน  ความเห็นชอบจากคณะกรรมการในวิชา ศธ.798 มาจัดทำให้สมบูรณ์ ตามขอบเขตที่ได้เสนอไว้ในข้อเสนอการค้นคว้าอิสระ ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา และเมื่อรายงานเสร็จสมบูรณ์แล้วนักศึกษาต้องนำเสนอการค้นคว้าอิสระ เพื่อได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการโครงการเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

 
รายละเอียดวิชา
ศธ.800 วิทยานิพนธ์     12 หน่วยกิต
MB.800 Thesis
  การสร้างโครงการวิจัย และการดำเนินการวิจัย อันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และนำเสนอวิทยานิพนธ์ การเขียนรายงานวิจัยเผยแพร่ จริยธรรมในการทำวิจัย และจริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ